คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ทำไมหลายคนถึงแนะนำ

คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ทำไมหลายคนถึงแนะนำ

Table of Contents

เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัย 20 คอลลาเจนค่อย ๆ ลดลง ปัญหาเล็บเปราะบางหักง่ายก็ตามมา ยิ่งขาดการดูแลเอาใจใส่ ปล่อยให้เล็บขาดความชุ่มชื้น ใช้สารเคมีบ่อยเกินไปยิ่งเสี่ยง หรือแม้กระทั่งการขาดวิตามิน เช่น วิตามินอี วิตามินดี วิตามินบี 7 ธาตุเหล็ก โปรตีนเองก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เล็บเปราะบาง จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหลายคนประสบปัญหานี้ แต่รู้หรือไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเกิดสงสัย เล็บเปราะบางแตกหักง่าย รักษาด้วยวิธีไหน มีเคล็ดลับในการดูแลอย่างไร มักมีคำตอบว่า คอลลาเจน เป็นหนึ่งในไอเทมเด็ดที่ช่วยได้ แต่ คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? วิตามินที่ควรกินร่วมกับคอลลาเจน หรือวิธีการเสริมคอลลาเจนให้กับเล็บทำได้ยังไง อาหารเสริมเพื่อสุขภาพเล็บที่ดีมีอะไรบ้าง รวมถึงข้อควรระวังในการทำเล็บที่เหมาะสม ต้องทำอย่างไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน 


คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ใช้ได้ผลหรือเปล่า

คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ใช้ได้ผลหรือเปล่า

คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? คำตอบคือ ช่วยได้จริง โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของประเทศเยอรมนี ได้ทำการทดลองกับผู้หญิงอายุ 20 – 50 ปี โดยการให้กินคอลลาเจนชนิดเฉพาะที่เรียกว่า Bioactive Collagen Peptide ขนาด 2.5 กรัมต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า

  • ช่วยลดปัญหาเล็บหักเปราะได้ถึง 42% 
  • ช่วยเพิ่มการงอกยาวของเล็บได้ถึง 12%

นอกจากนั้น นักวิจัยยังพบว่ากรณีกินโปรตีนไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้คอลลาเจนในผิวลดลง เล็บเปราะฉีกง่าย หรือผมขาดหลุดร่วง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หากต้องการให้คอลลาเจนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต้องกินควบคู่ไปกับโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของต่อวัน (บุคคลปกติทั่วไปควรได้รับโปรตีนประมาณ 0.8 – 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม)


วิตามินที่ควรกินร่วมกับคอลลาเจน

วิตามินที่ควรกินร่วมกับคอลลาเจน

ได้คำตอบกันไปแล้วว่ากินคอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บเปราะได้จริงไหม? คราวนี้มากันดูกันบ้างว่า การเลือกวิตามินที่มีฤทธิ์ชะลอการสลายของคอลลาเจนมีอะไรบ้าง 

1. วิตามินซี 

การได้รับวิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการ มีส่วนช่วยในการทำปฏิกิริยาสังเคราะห์คอลลาเจน จึงทำให้การกินวิตามินซีร่วมกับคอลลาเจน ช่วยให้ระยะเวลาการเสื่อมสลายของคอลลาเจนช้าลง เราสามารถเลือกรับได้ 2 รูปแบบ คือ อาหารเสริม และได้รับจากการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม มะขามป้อม สตรอว์เบอร์รี ลิ้นจี่

2. แอนโทไซยานิน 

มีคุณสมบัติแบบเดียวกันกับวิตามินซี คือช่วยในการชะลอการเสื่อมสลายของคอลลาเจน อาหารที่อุดมไปด้วยอาหาร เช่น ชมพู่ มะเหมี่ยว ข้าวแดง ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดง ถั่วดำ มันเทศสีม่วง ผลไม้ เช่น เชอร์รี่ ราสเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี

3. วิตามินอี 

แม้ไม่มีผลต่อการชะลอการเสื่อมสภาพของคอลลาเจนโดยตรง แต่มีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระและทำงานควบคู่กับวิตามินซี อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เช่น อัลมอนด์ เนยถั่ว กีวี่ มะม่วง มะเขือเทศ บรอกโคลี ผักโขม เมล็ดทานตะวัน

4. วิตามินเอ 

มีหน้าที่ในการกระตุ้นการเติบโตของไซโตพลาสต์ที่มีหน้าที่ในการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ เช่น ผัก ผลไม้สีเหลือง ส้ม เขียว เช่น ตำลึง ฟักทอง ผักโขม คะน้า พริกหยวก


วิธีการเสริมคอลลาเจนให้กับเล็บ

วิธีการเสริมคอลลาเจนให้กับเล็บ

สำหรับวิธีคอลลาเจนสรรพคุณช่วยฟื้นฟูดูแลเล็บมีเพียงแค่วิธีเดียว คือ การกินในรูปแบบของอาหารเสริมประเภท Bioactive Collagen Peptide ซึ่งเป็นคอลลาเจนที่สกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึก และเป็นชนิดเดียวกันกับที่พบในผิวหนังมนุษย์ มีคุณสมบัติช่วยเติมเต็มคอลลาเจนที่สูญเสียไปจากสารอนุมูลอิสระ เช่น แสงแดด มลภาวะ ความชรา และปัจจัยอื่น ๆ ได้ดี

นอกจากนั้น จากงานวิจัยยังพบว่า Bioactive Collagen Peptide สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้ง่ายกว่าคอลลาเจนชนิดที่สกัดจากวัวและหมูมากกว่าถึง 1.5 เท่า และสามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อยอาหารอีกด้วย

หากอยากเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมคอลลาเจนได้ดี และร่างกายนำไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีเคล็ดลับช่วยได้ ดังนี้

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ ประมาณ 8 – 9 แก้วหรือ 1.5 ลิตร – 2 ลิตรต่อวัน
  • กินคอลลาเจนตอนช่วงท้องว่างหรือหลังทานอาหารเสร็จประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง

ข้อควรระวังในการทำเล็บ 

ข้อควรระวังในการทำเล็บ 

ถึงแม้การดูแลโดยเริ่มต้นจากภายในจะเป็นสิ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด แต่ก็ต้องทำควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม นี่เป็นเคล็ดลับการดูแลเล็บอย่างง่าย ๆ

  • ทาครีมกันแดด SPF 30 ขึ้นไปทุกครั้ง เมื่อต้องทำเล็บเจล เนื่องจากการทำเล็บเจลมีขั้นตอนที่จำเป็นต้องอบเล็บด้วยเครื่องรังสี UV เพื่อให้สีติดทนนาน หากไม่อยากให้รังสีดังกล่าวทำลายสุขภาพผิวควรทาครีมกันแดดก่อนเสมอ
  • ควรเลือกใช้น้ำยาล้างเล็บที่ไม่มีส่วนผสมของอะซิโตน (Acetone) หรือสารเคมีที่มีผลทำให้เล็บลอกหรือเปราะง่าย
  • ผู้ที่มีปัญหาเล็บเปราะติดเชื้อหรือมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรหลีกเลี่ยงการทำเล็บ เพราะอาจยิ่งทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลงได้
  • หลีกเลี่ยงการทำเล็บปลอม เนื่องจากขั้นตอนการทำเสี่ยงทำให้เล็บเปราะบางและอ่อนแอมากขึ้น เช่น การตะไบเล็บ การใช้น้ำยาที่อาจส่งผลให้ผิวบริเวณนิ้วเกิดการระคายเคือง
  • ไม่ควรแกะเล็บเจลด้วยตัวเอง หากไม่มีความเชี่ยวชาญในการแกะเล็บเจล ควรติดต่อร้านทำเล็บหรือร้านที่มีอุปกรณ์ครบครันจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพเล็บที่ดี

อาหารเสริมเพื่อสุขภาพเล็บที่ดี

หากอยากเพิ่มการดูแลเอาใจใส่สุขภาพเล็บ ไม่ใช่เพียงแค่ปัจจัยภายนอกและรับจากคอลลาเจน ตัวช่วยบำรุงผิว ผม เล็บเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถเสริมด้วยวิตามินหรือสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงเล็บให้แข็งแรงไม่ฉีกไม่เหลืองไม่ขาดง่าย ดังนี้

1. วิตามินบี 7 หรือไบโอติน มีคุณสมบัติเด่น ได้แก่ ลดการขาดหลุดร่วงของเส้นผม ชะลอผมหงอกก่อนวัย ป้องกันโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง บำรุงเล็บให้แข็งแรง และช่วยระบบเผาผลาญในร่างกาย ปริมาณที่ควรได้รับต่อวันขึ้นอยู่กับช่วงวัย ดังนี้

  • แรกเกิด – 6 เดือน 5 ไมโครกรัม 
  • 7 – 12 เดือน 6 ไมโครกรัม 
  • 1 – 3 ปี 8 ไมโครกรัม 
  • 4 – 8 ปี 12 ไมโครกรัม 
  • 9 – 13 ปี 20 ไมโครกรัม 
  • 14 – 18 ปี 25 ไมโครกรัม
  • ผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป – วัยทำงาน 30 ไมโครกรัม
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ 30 ไมโครกรัม
  • ผู้หญิงให้นมบุตร 35 ไมโครกรัม 

อาหารที่มีปริมาณไบโอตินสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น เครื่องใน เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ อาหารทะเล เช่น ปลาแซลมอน หอยนางรม ปลาเนื้อขาว ธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด ถั่วเปลือกแข็ง ผักและผลไม้ เช่น มะเขือเทศ กะหล่ำปลี กล้วย อาหารประเภทนม เนย โยเกิร์ต

2. ธาตุเหล็ก การได้รับธาตุเหล็กเพียงพอต่อความต้องการต่อวัน คือ 15 มิลลิกรัม มีส่วนช่วยในการบำรุงเล็บป้องกันปัญหาเล็บได้เป็นอย่างดี หากมีการกินร่วมกับวิตามินซีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์สีแดง ไข่แดง เครื่องในสัตว์ และธัญพืชต่าง ๆ  

3. โฟเลตหรือกรดโฟลิก มีส่วนช่วยให้เล็บดูสุขภาพดีอมชมพู หากได้รับในปริมาณที่เหมาะสม คือ ประมาณ 400 ไมโครกรัม หรือไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อวัน ห้ามกินเกินนี้ เพราะจะมีผลต่อการยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 12 อาหารที่มีโฟเลตสูง ได้แก่ อาหารจำพวกถั่วเหลือง ผักโขม ตำลึง ผลไม้ เช่น ฝรั่ง สับปะรด เบอร์รี่ ผักใบเขียว เช่น บรอกโคลี กะหล่ำปลี ผักกาดเขียว

4. ไขมันดี มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเล็บ และลดความแห้งกร้าน กรณีคนทั่วไปไม่ควรกินไขมันหรือคอเลสเตอรอลเกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในกรณีคนที่ออกกำลังกายต้องการควบคุมน้ำหนักลดไขมันควรกินไม่เกินปริมาณ 11 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันดี เช่น ไข่แดง เบคอน น้ำมันมะกอก แซลมอน น้ำมะพร้าว 

5. วิตามินอี มีคุณสมบัติในการช่วยบำรุงเนื้อเล็บให้แข็งแรงไปพร้อม ๆ กับการเติมความชุ่มชื้นและป้องกันปัญหาหนังฉีกขาดบริเวณซอกเล็บ ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน 10 IU อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี เช่น อาหารจำพวกถั่ว พืชผัก ผลไม้ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน

สุดท้ายแล้วสรุปได้ว่า คอลลาเจนสามารถบำรุงเล็บได้จริง เพียงแต่ต้องเลือกคอลลาเจนประเภท Bioactive Collagen Peptide ร่วมกับการกินวิตามินเสริม เช่น วิตามินซี วิตามินอี โฟเลต ธาตุเหล็ก และการปรับพฤติกรรม จึงจะมีผลต่อการบำรุงจากทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ


อ้างอิง 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี ? มาเพิ่มคอลลาเจนง่าย ๆ กัน

มองหา เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี มาดูกัน ตัวช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้มากกว่าเดิม พร้อมเพิ่มความกระชับ เต่งตึงให้ผิว

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด

โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด ทำง่าย เห็นผลจริง เพียงแค่เปลี่ยนแปลงบางพฤติกรรมที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

อ่านต่อ
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร
สาระความรู้
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร ? เลือกกินอย่างไรดี

คอลลาเจนแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร อะไรคือความแตกต่างของ คอลลาเจน Type II และ III เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและผิวหนังได้ง่าย ๆ

อ่านต่อ
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม
สาระความรู้
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม ยิ่งดูแลตัวเองดี ยิ่งหายได้ง่าย และเร็วขึ้น วิธีการดูแลร่างกายตัวเอง และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร?
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร?

โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร? หรืออาการเบื้องต้นของโรคข้อเสื่อม, รับประทานอะไรเพื่อบำรุงข้อต่อ หรือจะเป็นวิธีการดูแลรักษา บทความนี้มีคำตอบ

อ่านต่อ
แนะนำ อาหารที่มีเจลาตินสูง เจาะลึกถึงประโยชน์ และเมนูยอดฮิต
สาระความรู้
แนะนำ อาหารที่มีเจลาตินสูง เจาะลึกถึงประโยชน์ และเมนูยอดฮิต

แนะนำ อาหารที่มีเจลาตินสูง รวมทุกข้อมูลเกี่ยวกับโปรตีนชนิดนี้ เจาะลึกประโยชน์ และเมนูยอดฮิตที่มีเจลาตินเป็นส่วนประกอบหลัก

อ่านต่อ