ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง ครอบคลุมส่วนไหน

ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง ครอบคลุมส่วนไหน

Table of Contents

เคยสงสัยไหมว่า เวลาพูดถึงคอลลาเจน ทำไมมีเจลลาตินเข้ามาเป็นหนึ่งในหัวข้อสนทนา แถมมีหลายข้อมูลบอกว่า เจลาตินมีประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสุขภาพเล็บ ผิวหนัง ข้อต่อและกระดูกเหมือนกับคอลลาเจนเกือบทุกประการ แต่จะเป็นจริงดังว่าหรือไม่ ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง หรือเจลาตินคืออะไร วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบ


ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้างครอบคลุมส่วนไหน

ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้างครอบคลุมส่วนไหน

ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้างที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้ ขอเน้นหนักไปที่ความคล้ายคลึงระหว่างเจลาตินกับคอลลาเจนเป็นหลัก โดยครอบคลุมเรื่องความงามและสุขภาพ ดังนี้

1. สุขภาพ 

ด้วยคุณประโยชน์ของเจลาตินที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายกว่า 19 ชนิด จึงคาดการณ์ได้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ บรรเทาอาการกระดูกและข้อต่อ ฟื้นตัวหลังจากออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง โดยมีกลไกการทำงานต่างกันตามลักษณะอาการ 

  • บรรเทาอาการกระดูกและข้อต่อ หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าการกินคอลลาเจนหรือเจลาตินในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยรักษาอาการโรคเกี่ยวกับข้อต่อและกระดูกได้ แต่จริง ๆ แล้วประสิทธิภาพสูงสุดทำได้เพียงบรรเทาอาการไม่ให้กลับมารุนแรง เนื่องจากคอลลาเจนและเจลาตินไม่สามารถทดแทนส่วนที่ขาดหายหรือเสื่อมสลายไปได้ แต่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อซ่อมแซมเหมือนกับโปรตีนทั่วไปในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่เข้าไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอเท่านั้น ดังนั้น การกินคอลลาเจนหรือเจลาตินจึงไม่ได้มีผลโดยตรงต่อกระดูกและข้อต่อ แต่เป็นผลพลอยได้ของกระบวนซ่อมแซมร่างกาย แต่หากถามว่ากินแล้วได้ผลไหม? แน่นอนว่าได้ แต่ทำได้เพียงแค่บรรเทาอาการ
  • ฟื้นตัวหลังจากออกกำลังกาย ช่วงเวลาที่มีการออกกำลังกาย อาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้อและเซลล์เกิดการบาดเจ็บ การได้รับโปรตีนในรูปแบบของเจลาตินจึงมีส่วนช่วยในการซ่อมแซมฟื้นฟูเซลล์ต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกับการกินโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีกรดอะมิโนแบบเดียวกัน
  • ลดน้ำหนัก ด้วยคุณสมบัติของการอุ้มน้ำของเจลาตินได้มากถึง 5 – 10 เท่าของน้ำหนักเดิม จึงทำให้การกินเจลาตินมีส่วนช่วยให้อิ่มท้อง และมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากเจลาตินเป็นโปรตีนแต่มีแคลอรีต่ำจึงมีประโยชน์สำหรับผู้มีความผิดปกติเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด จากการศึกษาชิ้นหนึ่งได้ทำการทดลองกับกลุ่มผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการให้กินเจลาตินต่อเนื่องกัน 3 เดือน พบว่ามีอัตราการอักเสบลดลงและระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง แต่ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันว่ามีประสิทธิภาพลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้จริงหรือไม่ ถึงแม้ผลลัพธ์จะออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากพบว่าเนื้องอกและเซลล์มะเร็งมีการเติบโตช้าลง แต่ผลสรุปที่ได้เกิดจากการทดลองในหมู ไม่ใช่มนุษย์จึงไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร 

2. ความงาม

ว่ากันว่าการกินคอลลาเจนหรือเจลาตินจะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างสุขภาพผิว ผม และเล็บ ด้วยการเข้าไปกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่และมีส่วนร่วมในกระบวนการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผลลัพธ์ที่ได้ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และปัจจัยอื่น ๆ เช่น ประเภทคอลลาเจน ปริมาณที่ได้รับต่อวัน และพฤติกรรม แต่อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าการกินคอลลาเจนในรูปแบบอาหารเสริมกับได้รับจากการกินอาหารแบบไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน 

3. รักษาโรค

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ hello คุณหมอ เกี่ยวกับ เจลาติน ได้มีการระบุว่าเจลาตินมีคุณสมบัติในการใช้รักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ลดน้ำหนัก
  • รักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
  • เสริมสร้างกระดูกข้อต่อและเล็บ
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และกระดูกเปราะหรือโรคกระดูกพรุน
  • บำรุงเส้นผม
  • มีส่วนช่วยในการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกาย และการได้รับการบาดเจ็บที่มีความเกี่ยวข้องกับกีฬา

แต่อย่างไรก็ตาม ผลจากการรักษาไม่มีข้อมูลเปิดเผยแน่ชัด และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น การจะใช้เจลาตินสำหรับรักษาจึงจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเท่านั้น


เจลาตินทำมาจากอะไร มีกี่ประเภท

เจลาตินทำมาจากอะไร มีกี่ประเภท

แน่นอนว่าสำหรับคนที่เขาจะคุ้นเคยกับเจลาตินหรือคอลลาเจนมาบ้าง ก็จะรู้ดีว่าทำมาจากอะไร แต่ใครที่เพิ่งเคยได้ยิน ไปดูกันว่าเจลาตินทำมาจากอะไร และมีกี่ประเภท

1. เจลาตินจากสัตว์

  • เจลาติน ทํามาจากหมู วัว หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ที่มีคอลลาเจนและโปรตีน ได้มาจากการนำคอลลาเจนที่สกัดได้จากส่วนต่าง ๆ ของหมู เช่น หนัง กระดูก มาผ่านกระบวนการสลายโมเลกุลจนมีขนาดเล็กลง 
  • เจลาตินจากปลา ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหารเสริม เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่มีกลิ่น และปราศจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และคอเลสเตอรอล 

2. เจลาตินจากพืช

ส่วนใหญ่ทำมาจากพืชหัว เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง มันสำปะหลัง เมล็ดธัญพืช ฯลฯ มีลักษณะเป็นเนื้อแป้งที่ผ่านการสกัดโปรตีนไขมันและเกลือแร่ออกไป จนกลายเป็นแป้งบริสุทธิ์ มักถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ทำซุป ซอส วุ้นเส้น

ประเภทของเจลาติน

โดยทั่วไปจะแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท ดังนี้

  • ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร หรือเจลาตินสำหรับอาหาร มีให้เลือกหลายเกรด เช่น
      • เกรด 250 Bloom ค่าความแข็ง 240 – 260 Bloom ค่าความหนืด 30 – 40 mps ใช้ในการผลิต jelly และ marshmallow
      • เกรด 220 Bloom ค่าความแข็ง 210 – 230 Bloom ค่าความหนืด 28 – 34 mps ใช้ในการผลิต jelly และ marshmallow
  • ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอาหารเสริม ส่วนใหญ่มีให้เลือก 2 เกรด คือ 
    • เกรด 150 Bloom ค่าความแข็ง 140 – 160 Bloom ค่าความหนืด 30 – 36 mps ใช้สำหรับการผลิตแคปซูลชนิดนิ่ม
    • เกรด 250 Bloom ค่าความแข็งมากกว่าหรือเท่ากับ 250 Bloom ค่าความหนืด 45 – 48 mps ใช้ในการผลิตแคปซูลชนิดแข็ง

เจลาติน คืออะไร ? แล้ว เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร

เจลาติน คืออะไร ? แล้ว เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร

เจลาติน คือ คอลลาเจนที่ได้จากการสลายคอลลาเจนด้วยกรดหรือด่างหรือการเสียสภาพหรือผ่านการปรุงสุก มีคุณสมบัติละลายได้ดีในน้ำอุ่น (32 องศา) อุ้มน้ำ และเซ็ตตัวในอุณหภูมิปกติ (เยลลี่)

ส่วนใครที่มีความสงสัยว่า เจลาตินกับคอลลาเจน ต่างกันอย่างไร คำอธิบายที่ง่ายที่สุดเลย คือ “ขนาดโมเลกุล” โดยทั่วไปคอลลาเจนจะมีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นสารตั้งต้นของเจลาตินที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย เพื่อให้มีโมเลกุลขนาดเล็กลง หรือพูดง่าย ๆ ว่าเจลาตินเป็นส่วนหนึ่งของคอลลาเจนก็ไม่ผิดเสียทีเดียว


เลือกคอลลาเจนแบบไหนดี

เลือกคอลลาเจนแบบไหนดี

หลังจากเข้าใจกันไปมากขึ้นแล้วว่า เจลาตินกับคอลลาเจนมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นอย่างเดียวกัน ลองไปดูเพิ่มเติมกันว่าควรเลือกคอลลาเจนแบบไหน

  • ไฮโดรไลซ์คอลลาเจน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน จากการวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการทดสอบกับผู้หญิงอายุ 45 – 65 ปีจำนวน 114 คน พบว่า การทานคอลลาเจนประเภทไฮโดรไลซ์วันละ 2.5 กรัม ต่อเนื่องกัน 8 สัปดาห์ มีปริมาณคอลลาเจนเพิ่มขึ้นถึง 65% ในขณะที่อีลาสตินเพิ่มขึ้นถึง 18%
  • คอลลาเจนไตรเปปไทด์ มีอนุภาคขนาดเล็กจากการย่อยสลายด้วยกรด จึงทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีกว่าคอลลาเจนปกติ 4 – 5 เท่า เหมาะสำหรับผู้มีปัญหาริ้วรอยร่องลึก
  • คอลลาเจนไดเปปไทด์ มีอนุภาคขนาดเล็กเพียง 200 ดาลตัน จัดเป็นกรดอะมิโนสายสั้นที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็ว และมีประสิทธิภาพกว่าคอลลาเจนธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดเลือนริ้วรอยและกระตุ้นให้เกิดการสร้างอีลาสตินในผิวหนัง 

สรุปได้ว่า ประโยชน์ของเจลาตินนั้นมีหลายด้านเพียงแต่ยังไม่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย และมีการพูดถึงแค่ในหมู่ผู้เชี่ยวชาญ กรณีใช้รักษาโรคหรืออาการต่าง ๆ เท่านั้น ดังนั้น ถึงแม้จะมีคุณสมบัติแบบเดียวกับคอลลาเจนแต่การนำมาใช้ยังคงต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำ 


อ้างอิง

  • เจลาติน (Gelatin). https://hellokhunmor.com/สมุนไพรและการแพทย์ทางเลือก/เจลาติน-gelatine/

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมวิตามินผิว
สาระความรู้
อาหารเสริมวิตามินผิว มีอะไรบ้าง ? เปิดสาเหตุเพิ่มวิตามินให้ผิว ดีอย่างไร

เพิ่ม อาหารเสริมวิตามินผิว เสริมได้ด้วยวิตามินซี นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกายได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความขาวกระจ่างใสได้มากกว่าเดิม

อ่านต่อ
เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี ? มาเพิ่มคอลลาเจนง่าย ๆ กัน

มองหา เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี มาดูกัน ตัวช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้มากกว่าเดิม พร้อมเพิ่มความกระชับ เต่งตึงให้ผิว

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด

โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด ทำง่าย เห็นผลจริง เพียงแค่เปลี่ยนแปลงบางพฤติกรรมที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

อ่านต่อ
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร
สาระความรู้
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร ? เลือกกินอย่างไรดี

คอลลาเจนแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร อะไรคือความแตกต่างของ คอลลาเจน Type II และ III เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและผิวหนังได้ง่าย ๆ

อ่านต่อ
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม
สาระความรู้
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม ยิ่งดูแลตัวเองดี ยิ่งหายได้ง่าย และเร็วขึ้น วิธีการดูแลร่างกายตัวเอง และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร?
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร?

โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร? หรืออาการเบื้องต้นของโรคข้อเสื่อม, รับประทานอะไรเพื่อบำรุงข้อต่อ หรือจะเป็นวิธีการดูแลรักษา บทความนี้มีคำตอบ

อ่านต่อ