ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุและวิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้น ไม่แห้งเสีย

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุและวิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้น ไม่แห้งเสีย

Table of Contents

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เท่าที่ทราบน่าจะสังเกตุได้จากลักษณะโดยรวมของผิวต่างออกไปจากปกติ เช่น แห้งตึง แตก เห็นเป็นร่องแตกลาย ลอกเป็นขุย และบางคนอาจมีอาการคันจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย หากถามถึงสาเหตุเบื้องต้นคำตอบชัดเจนที่สุดเลยคือผิวขาดน้ำ แต่ให้เจาะมากขึ้นต้องขอบอกว่ามีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น การเสื่อมสภาพของเซลล์ผิวและปัจจัยภายนอกร่วมด้วย แต่สงสัยไหมว่าผิวขาดน้ำมีกลไกอย่างไร หรือรักษาได้ไหม? วันนี้เรารวมมาให้ครบทุกประเด็นพร้อมวิธีทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งเสียมาฝาก


ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุที่แท้จริง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุที่แท้จริง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? ซึ่งผิวแห้งนั้นเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ การมีน้ำและน้ำมันในชั้นหนังกำพร้าลดลงส่งผลให้ผิวไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไวในผิวได้อย่างที่ควรจะเป็น จนเป็นเหตุให้ผิวแห้งแตกหรือลอกเป็นขุยตามมา และเกิดจากการระคายเคืองจากการสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น สารฟอกขาว (Bleaching agent) นิกเกิล (Nickel) นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะผิวแห้งที่พบเห็นได้บ่อย ดังนี้ 

1. อายุ

มีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพผิว

  • อายุ 20 – 29 ปี จะเริ่มปรากฏสัญญาณเป็นริ้วรอยบริเวณหางตา ร่องแก้ม และระหว่างคิ้ว ประกอบกับผิวเริ่มบาง ปริมาณคอลลาเจนและเคราตินเริ่มลดลงส่งผลให้ระดับความชุ่มชื้นในผิวลดลงตามไปด้วย
  • อายุ 30 – 39 ปี กระบวนการทำงานของเซลล์ผิวเริ่มช้าลง ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นเริ่มหายไป ส่งผลให้ผิวพรรณขาดความเปล่งปลั่งแลดูหมองคล้ำ ผิวเริ่มแห้งและมีริ้วรอยปรากฏขึ้นเด่นชัด
  • อายุ 40 – 49 ปี ถือเป็นช่วงที่มีความกังวลเกี่ยวกับผิวพรรณมากที่สุด เนื่องจากคอลลาเจนที่มีอยู่เริ่มเสื่อมสลายและผิวขาดความตึงกระชับ นอกจากนั้น ในผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยทองจะเริ่มขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีผลกระทบต่อเกราะป้องกันผิว ส่งผลให้ผิวแห้ง แพ้ง่าย และเกิดการระคายเคืองอีกด้วย
  • อายุ 50 – 59 ปี จะเริ่มพบว่าต่อมไขมันเริ่มทำงานน้อยลงและไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดีเหมือนแต่ก่อน จนกลายเป็นสาเหตุทำให้ผิวแห้งมากกว่าปกติ
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป จะยิ่งเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าต่อมไขมันผลิตไขมันลดลงและสังเกตเห็นได้ชัดว่าผิวมีความบางลง ขาดความฟู ไวต่อแสง ขาดน้ำและผิวแห้ง

2. ฮอร์โมน

ฮอร์โมน Cortisol หรือฮอร์โมนความเครียด หากร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปจะส่งผลต่อความชุ่มชื้นของผิว โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะไปลดความสามารถในการกักเก็บความชุ่มชื้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผิวแห้งตามมานั่นเอง

3. ระยะตั้งครรภ์ ภาวะหมดประจำเดือน

ช่วงฮอร์โมนเกิดความเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอและไวต่อการระคายเคืองจนต่อยอดไปสู่ผิวหนังแห้งแตกในที่สุด

4. ขาดวิตามินและแร่ธาตุ

ที่มีส่วนสำคัญในการบำรุงผิวพรรณ เช่น

  • วิตามินอี (Vitamin E)
  • วิตามินบี (Vitamin B)
  • วิตามินซี (Vitamin C)
  • วิตามินเอ (Vitamin A)
  • ซิงค์ (Zinc)

5. โรคทางผิวหนังหรือโรคอื่น ๆ ที่มีผลทำให้ผิวแห้ง

เช่น ภาวะบกพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โรคผิวหนังอักเสบ (Atopic Eczema) โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังโรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โดยทั่วไปไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับผิวแห้งโดยตรงเพียงแต่แสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับผิวแห้ง เช่น คัน เป็นสะเก็ด เป็นต้น


ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ส่องปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ผิวแห้ง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ส่องปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ผิวแห้ง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? ตอบได้ชัดเจนว่านอกเหนือจากปัจจัยภายในแล้วยังมีปัจจัยภายนอก ดังนี้

  1. สภาพอากาศ : หากอยู่ในช่วงฤดูหนาวและอากาศแห้งจะส่งผลให้ผิวขาดความสมดุล เนื่องจากความชื้นในผิวจะถูกดึงออกมาเพื่อเพิ่มความสมดุลให้แก่อากาศด้านนอก
  1. ปัจจัยแวดล้อม : เช่น การอาบน้ำอุ่น การอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีค่า pH ไม่เหมาะสม

วิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้นไม่แห้งเสีย

วิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้นไม่แห้งเสีย

สำหรับวิธีทําให้หน้าชุ่มชื้น แบบธรรมชาติที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นวิธีการฟื้นฟูโดยเน้นแก้จากสาเหตุเป็นหลัก

1. อายุ

  • อายุ 20 – 29 ปี ควรบำรุงผิวด้วยการทามอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อเน้นให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว และหมั่นทาครีมกันแดดทุกครั้งที่ออกแดดเสมอโดยเลือกค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15
  • อายุ 30 – 39 ปี ควรบำรุงด้วยครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์แบบเข้มข้นมากเป็นพิเศษ และควรมีส่วนผสมของน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ เนื่องจากวัยนี้ความสามารถในการผลิตน้ำมันในชั้นผิวหนังน้อยลงจึงจำเป็นต้องมองหาน้ำมันทดแทนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ร่วมกับการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่รู้ว่าควรดื่มเท่าไหร่สามารถคำนวณโดยใช้สูตร น้ำหนัก x 2.2 x 30/2 = ปริมาณน้ำที่ควรดื่ม เช่น น้ำหนัก 60 x 2.2 x 30/2 = 1,980 มิลลิลิตร
  • อายุ 40 – 49 ปี ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโปรตีนเปปไทด์ เช่น Carrier Peptides, Signal Peptides เพื่อกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจน
  • อายุ 50 – 59 ปี ต้องหมั่นเติมน้ำมันให้แก่ผิวอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีหรือน้ำมันจากธรรมชาติไปพร้อม ๆ กับขจัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยกรดผลไม้ความเข้มข้นต่ำ 4 – 8% อย่างน้อยเดือนละครั้ง
  • อายุ 60 ขึ้นไป หากต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นให้แก่ผิวฺ ต้องอาศัยคุณสมบัติจากยาทาหรือยาชนิดรับประทานมากกว่าจะเป็นครีมบำรุง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2. ฮอร์โมน

กรณีที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนความเครียดต้องแก้ไขด้วยการปรับพฤติกรรมไปพร้อม ๆ กับการทาครีมบำรุง เริ่มจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงเน้นใช้ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิว

กรณีมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเกิดความเปลี่ยนแปลงช่วงระยะตั้งครรภ์ ควรมองหาครีมบำรุงที่มีส่วนประกอบของมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ปลอดภัยและอ่อนโยนต่อทารกในครรภ์ด้วย เช่น

  • กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid)
  • น้ำแร่ (Mineral Water)
  • ไนอะซิไมด์ (Niacinamide)
  • วิตามินอี (Vitamin E)
  • วิตามินเอ (Vitamin A)
  • และอื่น ๆ

3. ขาดวิตามิน

เพิ่มสัดส่วนการทานวิตามินบำรุงผิวในปริมาณที่เหมาะสมหรือเพียงพอต่อความต้องการต่อวัน เช่น

  • วิตามินอี (Vitamin E) 40- 200 IU และไม่ควรมากกว่า 1,500 IU
  • วิตามินบี (Vitamin B)
    • วิตามินบี 1 = 5 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 2 = 7 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 3 = 20 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 5 = 6 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 6 = 2 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 9 = 200 ไมโครกรัม
    • วิตามินบี 12 = 2 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี 1,000 – 2,000 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 600 – 700 ไมโครกรัม และไม่ควรเกิน 3,000 ไมโครกรัมของเรตินอล
  • ซิงค์ (Zinc) = 15 มิลลิกรัม

4. ปัจจัยภายนอก

  • ฤดูหนาว
    • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น
    • หลีกเลี่ยงสครับผิว
    • ชโลมผิวด้วยเบบี้ออยหรือน้ำมันทาผิวทันทีหลังจากอาบน้ำเสร็จและต่อด้วยโลชั่นที่มีส่วนผสมของไม้มอยเจอร์ไรเซอร์ หากมีบริเวณไหนที่แห้งกร้านมากเป็นพิเศษแนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดเบา ๆ
    • และก่อนออกแดดทุกครั้งอย่าลืมทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป
  • เมื่อต้องอยู่ห้องแอร์นาน ๆ
    • หมั่นทาครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
    • หาแก้วน้ำมาวางไว้ใกล้ ๆ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ
    • ลดปริมาณการดื่มคาเฟอีน
    • หลีกเลี่ยงการเปิดแอร์อุณหภูมิต่ำเกินไป
  • ค่า pH ไม่สมดุล

เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH อยู่ที่ 5.5 เพื่อเพิ่มความสมดุลและช่วยปกป้องผิวให้ยังคงความชุ่มชื้น พร้อมยับยั้งเชื้อโรคและแบคทีเรีย


แนวทางป้องกันภาวะผิวแห้ง

แนวทางป้องกันภาวะผิวแห้ง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร หลายคนคงจะพอทราบแล้ว ซึ่งนอกเหนือจากวิธีการใส่ใจดูแลเพื่อให้ผิวหน้าชุ่มชื้นมีชีวิตชีวาแล้วก็ยังมีอีกหนึ่งแนวทางนั่นก็คือการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะผิวแห้ง อ้างอิงข้อมูลจากแพทย์หญิง สัญชวัล วิทยากรฤกษ์ หน่วยผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมและสารกันเสีย
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งและเย็น หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ

เชื่อว่าคุณคงรู้แล้วว่าผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร สุดท้ายแล้วปัญหาผิวแห้งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน หากไม่อยากให้ผิวแห้งเสียหรือขาดความชุ่มชื้นจำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลรอบด้าน เช่น เน้นรับประทานอาหารฟื้นฟูผิวแห้งเสียที่มีประโยชน์หรือมีวิตามินที่ช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเย็นหรือเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเท่านี้ผิวของเราก็จะกลับมาดูสวยสุขภาพดีและนุ่มชุ่มชื่นได้อย่างแน่นอน

แหล่งที่มา:

บทความที่เกี่ยวข้อง

คอลลาเจน Type I และ III แตกต่างกันอย่าไร ?
สาระความรู้
คอลลาเจน Type I และ III แตกต่างกันอย่าไร ? เรียนรู้เรื่องคอลลาเจน

ไขข้อสงสัย อะไรคือความแตกต่างของ คอลลาเจน Type I และ III มีส่วนช่วยในด้านใดบ้าง เลือกรับประทานอย่างถูกต้อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

อ่านต่อ
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน คืออะไร แล้วควรดูแลตัวเองอย่างไร?
สาระความรู้
วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน คืออะไร แล้วควรดูแลตัวเองอย่างไร?

วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ภาวะของคนวัย 40 คืออะไร เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองแล้วควรดูแลตัวเองและรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างไรบ้าง โปรดติดตาม

อ่านต่อ
วิธีลดการสลายของ อิลาสตินในผิว เพื่อผิวสวยสุขภาพดี
สาระความรู้
วิธีลดการสลายของ อิลาสตินในผิว เพื่อผิวสวยสุขภาพดี

วิธีลดความเสื่อมของ อิลาสตินในผิว ควรทำอย่างไรบ้าง? สิ่งสำคัญที่ควรรู้เอาไว้ เพื่อสุขภาพผิวที่ดีและแข็งแรง

อ่านต่อ
คอลลาเจน Type II
สาระความรู้
คอลลาเจน Type II คืออะไร?

คอลลาเจน Type II คืออะไร? คือ โปรตีนคอลลาเจนที่พบมากในกระดูกอ่อน ทำหน้าที่เสริมความแข็งแรงของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย

อ่านต่อ