ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุและวิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้น ไม่แห้งเสีย

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุและวิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้น ไม่แห้งเสีย

Table of Contents

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เท่าที่ทราบน่าจะสังเกตุได้จากลักษณะโดยรวมของผิวต่างออกไปจากปกติ เช่น แห้งตึง แตก เห็นเป็นร่องแตกลาย ลอกเป็นขุย และบางคนอาจมีอาการคันจากการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย หากถามถึงสาเหตุเบื้องต้นคำตอบชัดเจนที่สุดเลยคือผิวขาดน้ำ แต่ให้เจาะมากขึ้นต้องขอบอกว่ามีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น การเสื่อมสภาพของเซลล์ผิวและปัจจัยภายนอกร่วมด้วย แต่สงสัยไหมว่าผิวขาดน้ำมีกลไกอย่างไร หรือรักษาได้ไหม? วันนี้เรารวมมาให้ครบทุกประเด็นพร้อมวิธีทำให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้งเสียมาฝาก


ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุที่แท้จริง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? เผยสาเหตุที่แท้จริง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? ซึ่งผิวแห้งนั้นเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ การมีน้ำและน้ำมันในชั้นหนังกำพร้าลดลงส่งผลให้ผิวไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นไวในผิวได้อย่างที่ควรจะเป็น จนเป็นเหตุให้ผิวแห้งแตกหรือลอกเป็นขุยตามมา และเกิดจากการระคายเคืองจากการสัมผัสสารเคมีบางชนิด เช่น สารฟอกขาว (Bleaching agent) นิกเกิล (Nickel) นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะผิวแห้งที่พบเห็นได้บ่อย ดังนี้ 

1. อายุ

มีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพผิว

  • อายุ 20 – 29 ปี จะเริ่มปรากฏสัญญาณเป็นริ้วรอยบริเวณหางตา ร่องแก้ม และระหว่างคิ้ว ประกอบกับผิวเริ่มบาง ปริมาณคอลลาเจนและเคราตินเริ่มลดลงส่งผลให้ระดับความชุ่มชื้นในผิวลดลงตามไปด้วย
  • อายุ 30 – 39 ปี กระบวนการทำงานของเซลล์ผิวเริ่มช้าลง ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นเริ่มหายไป ส่งผลให้ผิวพรรณขาดความเปล่งปลั่งแลดูหมองคล้ำ ผิวเริ่มแห้งและมีริ้วรอยปรากฏขึ้นเด่นชัด
  • อายุ 40 – 49 ปี ถือเป็นช่วงที่มีความกังวลเกี่ยวกับผิวพรรณมากที่สุด เนื่องจากคอลลาเจนที่มีอยู่เริ่มเสื่อมสลายและผิวขาดความตึงกระชับ นอกจากนั้น ในผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยทองจะเริ่มขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีผลกระทบต่อเกราะป้องกันผิว ส่งผลให้ผิวแห้ง แพ้ง่าย และเกิดการระคายเคืองอีกด้วย
  • อายุ 50 – 59 ปี จะเริ่มพบว่าต่อมไขมันเริ่มทำงานน้อยลงและไม่สามารถกักเก็บความชุ่มชื้นได้ดีเหมือนแต่ก่อน จนกลายเป็นสาเหตุทำให้ผิวแห้งมากกว่าปกติ
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป จะยิ่งเริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าต่อมไขมันผลิตไขมันลดลงและสังเกตเห็นได้ชัดว่าผิวมีความบางลง ขาดความฟู ไวต่อแสง ขาดน้ำและผิวแห้ง

2. ฮอร์โมน

ฮอร์โมน Cortisol หรือฮอร์โมนความเครียด หากร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้มากเกินไปจะส่งผลต่อความชุ่มชื้นของผิว โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะไปลดความสามารถในการกักเก็บความชุ่มชื้น และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผิวแห้งตามมานั่นเอง

3. ระยะตั้งครรภ์ ภาวะหมดประจำเดือน

ช่วงฮอร์โมนเกิดความเปลี่ยนแปลงส่งผลให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอและไวต่อการระคายเคืองจนต่อยอดไปสู่ผิวหนังแห้งแตกในที่สุด

4. ขาดวิตามินและแร่ธาตุ

ที่มีส่วนสำคัญในการบำรุงผิวพรรณ เช่น

  • วิตามินอี (Vitamin E)
  • วิตามินบี (Vitamin B)
  • วิตามินซี (Vitamin C)
  • วิตามินเอ (Vitamin A)
  • ซิงค์ (Zinc)

5. โรคทางผิวหนังหรือโรคอื่น ๆ ที่มีผลทำให้ผิวแห้ง

เช่น ภาวะบกพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) โรคผิวหนังอักเสบ (Atopic Eczema) โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังโรคผิวหนังอักเสบโรซาเซีย (Rosacea) โดยทั่วไปไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับผิวแห้งโดยตรงเพียงแต่แสดงอาการที่เกี่ยวข้องกับผิวแห้ง เช่น คัน เป็นสะเก็ด เป็นต้น


ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ส่องปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ผิวแห้ง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ส่องปัจจัยภายนอกที่มีผลทำให้ผิวแห้ง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร ? ตอบได้ชัดเจนว่านอกเหนือจากปัจจัยภายในแล้วยังมีปัจจัยภายนอก ดังนี้

  1. สภาพอากาศ : หากอยู่ในช่วงฤดูหนาวและอากาศแห้งจะส่งผลให้ผิวขาดความสมดุล เนื่องจากความชื้นในผิวจะถูกดึงออกมาเพื่อเพิ่มความสมดุลให้แก่อากาศด้านนอก
  1. ปัจจัยแวดล้อม : เช่น การอาบน้ำอุ่น การอยู่ในห้องแอร์นาน ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่มีค่า pH ไม่เหมาะสม

วิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้นไม่แห้งเสีย

วิธีทำให้ผิวดูชุ่มชื้นไม่แห้งเสีย

สำหรับวิธีทําให้หน้าชุ่มชื้น แบบธรรมชาติที่เรากำลังจะพูดถึงต่อไปนี้เป็นวิธีการฟื้นฟูโดยเน้นแก้จากสาเหตุเป็นหลัก

1. อายุ

  • อายุ 20 – 29 ปี ควรบำรุงผิวด้วยการทามอยเจอร์ไรเซอร์เพื่อเน้นให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว และหมั่นทาครีมกันแดดทุกครั้งที่ออกแดดเสมอโดยเลือกค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 15
  • อายุ 30 – 39 ปี ควรบำรุงด้วยครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์แบบเข้มข้นมากเป็นพิเศษ และควรมีส่วนผสมของน้ำมันสกัดจากธรรมชาติ เนื่องจากวัยนี้ความสามารถในการผลิตน้ำมันในชั้นผิวหนังน้อยลงจึงจำเป็นต้องมองหาน้ำมันทดแทนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ร่วมกับการดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากไม่รู้ว่าควรดื่มเท่าไหร่สามารถคำนวณโดยใช้สูตร น้ำหนัก x 2.2 x 30/2 = ปริมาณน้ำที่ควรดื่ม เช่น น้ำหนัก 60 x 2.2 x 30/2 = 1,980 มิลลิลิตร
  • อายุ 40 – 49 ปี ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโปรตีนเปปไทด์ เช่น Carrier Peptides, Signal Peptides เพื่อกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจน
  • อายุ 50 – 59 ปี ต้องหมั่นเติมน้ำมันให้แก่ผิวอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามินอีหรือน้ำมันจากธรรมชาติไปพร้อม ๆ กับขจัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ ด้วยกรดผลไม้ความเข้มข้นต่ำ 4 – 8% อย่างน้อยเดือนละครั้ง
  • อายุ 60 ขึ้นไป หากต้องการเพิ่มความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นให้แก่ผิวฺ ต้องอาศัยคุณสมบัติจากยาทาหรือยาชนิดรับประทานมากกว่าจะเป็นครีมบำรุง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

2. ฮอร์โมน

กรณีที่มีสาเหตุมาจากฮอร์โมนความเครียดต้องแก้ไขด้วยการปรับพฤติกรรมไปพร้อม ๆ กับการทาครีมบำรุง เริ่มจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงเน้นใช้ครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์ที่เหมาะกับสภาพผิว

กรณีมีสาเหตุมาจากฮอร์โมนเกิดความเปลี่ยนแปลงช่วงระยะตั้งครรภ์ ควรมองหาครีมบำรุงที่มีส่วนประกอบของมอยเจอร์ไรเซอร์ที่ปลอดภัยและอ่อนโยนต่อทารกในครรภ์ด้วย เช่น

  • กรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid)
  • น้ำแร่ (Mineral Water)
  • ไนอะซิไมด์ (Niacinamide)
  • วิตามินอี (Vitamin E)
  • วิตามินเอ (Vitamin A)
  • และอื่น ๆ

3. ขาดวิตามิน

เพิ่มสัดส่วนการทานวิตามินบำรุงผิวในปริมาณที่เหมาะสมหรือเพียงพอต่อความต้องการต่อวัน เช่น

  • วิตามินอี (Vitamin E) 40- 200 IU และไม่ควรมากกว่า 1,500 IU
  • วิตามินบี (Vitamin B)
    • วิตามินบี 1 = 5 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 2 = 7 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 3 = 20 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 5 = 6 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 6 = 2 มิลลิกรัม
    • วิตามินบี 9 = 200 ไมโครกรัม
    • วิตามินบี 12 = 2 ไมโครกรัม
  • วิตามินซี 1,000 – 2,000 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 600 – 700 ไมโครกรัม และไม่ควรเกิน 3,000 ไมโครกรัมของเรตินอล
  • ซิงค์ (Zinc) = 15 มิลลิกรัม

4. ปัจจัยภายนอก

  • ฤดูหนาว
    • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น
    • หลีกเลี่ยงสครับผิว
    • ชโลมผิวด้วยเบบี้ออยหรือน้ำมันทาผิวทันทีหลังจากอาบน้ำเสร็จและต่อด้วยโลชั่นที่มีส่วนผสมของไม้มอยเจอร์ไรเซอร์ หากมีบริเวณไหนที่แห้งกร้านมากเป็นพิเศษแนะนำให้ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดเบา ๆ
    • และก่อนออกแดดทุกครั้งอย่าลืมทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 15 ขึ้นไป
  • เมื่อต้องอยู่ห้องแอร์นาน ๆ
    • หมั่นทาครีมบำรุงที่มีส่วนผสมของมอยเจอร์ไรเซอร์
    • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
    • หาแก้วน้ำมาวางไว้ใกล้ ๆ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ
    • ลดปริมาณการดื่มคาเฟอีน
    • หลีกเลี่ยงการเปิดแอร์อุณหภูมิต่ำเกินไป
  • ค่า pH ไม่สมดุล

เปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า pH อยู่ที่ 5.5 เพื่อเพิ่มความสมดุลและช่วยปกป้องผิวให้ยังคงความชุ่มชื้น พร้อมยับยั้งเชื้อโรคและแบคทีเรีย


แนวทางป้องกันภาวะผิวแห้ง

แนวทางป้องกันภาวะผิวแห้ง

ผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร หลายคนคงจะพอทราบแล้ว ซึ่งนอกเหนือจากวิธีการใส่ใจดูแลเพื่อให้ผิวหน้าชุ่มชื้นมีชีวิตชีวาแล้วก็ยังมีอีกหนึ่งแนวทางนั่นก็คือการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการเกิดภาวะผิวแห้ง อ้างอิงข้อมูลจากแพทย์หญิง สัญชวัล วิทยากรฤกษ์ หน่วยผู้ป่วยนอกเด็กและวัยรุ่น ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอมและสารกันเสีย
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศแห้งและเย็น หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรทาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ

เชื่อว่าคุณคงรู้แล้วว่าผิวแห้งเสียเกิดจากอะไร สุดท้ายแล้วปัญหาผิวแห้งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน หากไม่อยากให้ผิวแห้งเสียหรือขาดความชุ่มชื้นจำเป็นจะต้องใส่ใจดูแลรอบด้าน เช่น เน้นรับประทานอาหารฟื้นฟูผิวแห้งเสียที่มีประโยชน์หรือมีวิตามินที่ช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศเย็นหรือเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นเท่านี้ผิวของเราก็จะกลับมาดูสวยสุขภาพดีและนุ่มชุ่มชื่นได้อย่างแน่นอน

แหล่งที่มา:

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีเพิ่มอิลาสตินให้กับผิว เพื่อผิวยืดหยุ่น ดูสุขภาพดี และปัจจัยเสี่ยงที่ต้องรู้
สาระความรู้
วิธีเพิ่มอิลาสตินให้กับผิว เพื่อผิวยืดหยุ่น ดูสุขภาพดี และปัจจัยเสี่ยงที่ต้องรู้

รู้หรือไม่ วิธีเพิ่มอิลาสตินให้กับผิว เพื่อผิวยืดหยุ่น ดูสุขภาพดี ต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วความเสี่ยงที่ทำให้อาจสูญเสียไปได้คืออะไร? มาดูกัน

อ่านต่อ
คอลลาเจน Type I
สาระความรู้
คอลลาเจน Type I คืออะไร?

คอลลาเจน Type I คืออะไร? จัดเป็นโปรตีนที่มีมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ คอลลาเจน Type I ส่วนใหญ่พบในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

อ่านต่อ
อิลาสติน VS คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร ? ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ
สาระความรู้
อิลาสติน VS คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร ? ข้อควรรู้ก่อนเลือกซื้อ

มาทำความเข้าใจกันให้มากขึ้นว่า อิลาสติน VS คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร แล้วทั้งสองสิ่งนี้สามารถช่วยดูแลผิวได้อย่างไรบ้าง?

อ่านต่อ
Type คอลลาเจน
สาระความรู้
Type คอลลาเจน คืออะไร มาจากไหน และช่วยอะไร?

Type คอลลาเจน คืออะไร มาจากไหน และช่วยอะไร? โดย “คอลลาเจน” เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อความแข็งแรง และความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อ

อ่านต่อ
คอลลาเจนบำรุงกระดูก
สาระความรู้
คอลลาเจนบำรุงกระดูกยี่ห้อไหนดี ? พร้อมเผยสาเหตุที่กระดูกพรุน

ข้อเข่าเสื่อม โรคใกล้ตัวกว่าที่คิด มีสาเหตุมาจากอะไร แล้วควรเลือกกิน คอลลาเจนบำรุงกระดูก ยี่ห้อไหนดี เพื่อช่วยเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง

อ่านต่อ
คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ทำไมหลายคนถึงแนะนำ
สาระความรู้
คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ทำไมหลายคนถึงแนะนำ

คอลลาเจนช่วยบำรุงเล็บ ได้จริงไหม? ช่วยได้จริง โดยเฉพาะคอลลาเจน Bioactive Collagen Peptide พร้อมเคล็ดลับเสริมคอลลาเจนให้เล็บสวยสุขภาพดี

อ่านต่อ