สัญญาณเข้าสู่วัยทอง ช่วงวัยที่บ่งบอกว่าสุภาพสตรีทั้งหลายว่ากำลังมีเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายครั้งสำคัญ ซึ่งอาการก็คือ ภาวะที่ไม่มีประจำเดือนเข้ามานั่นเอง จึงทำให้เกิดอาการต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อย หรืออาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา หลายคนที่อาจจะกังวลว่าตัวเองใกล้จะเข้าสู่วัยนี้แล้วหรือยัง ใบบทความนี้จึงจะมาบอก 3 สัญญาณว่าคุณกำลังเข้าสู่วัยทองจะมีสัญญาณอะไรบ้าง และอายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่าวัยทอง? พร้อมการดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับวัยทอง ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ลองมาดูกัน
ส่อง ‘สัญญาณเข้าสู่วัยทอง’ คืออะไร?
สัญญาณเข้าสู่วัยทอง คือ สัญญาที่บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และจิตใจของเพศหญิง เนื่องจากการขาด ฮอร์โมนเอสโทรเจน หรือฮอร์โมนในเพศหญิง โดยทางการแพทย์ได้เรียกช่วงวัยนี้ว่า Menopausem หรือสภาวะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน และเมื่อประจำเดือนได้ขาดหายไป 1 ปี จะสามารถบ่งบอกได้ว่ารังไข่ได้หยุดทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และถือว่าสุภาพสตรีท่านนั้นจะเข้าสู่วัยทองอย่างสมบูรณ์แบบ แล้วอายุเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าวัยทอง? มาหาคำตอบกัน
อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่าวัยทอง
ส่วนมากผู้หญิงจะหมดประจำเดือนอายุเท่าไหร่ ? คำถามนี้มักเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ กับสตรีที่มีอายุมากขึ้น แต่ยังไม่มั่นใจว่าตนเองใกล้เข้าสู่วัยทองแล้วหรือยัง โดยอายุเฉลี่ยของหญิงไทยจะที่จะเข้าสู่อยู่ในช่วง 48-52 ปี ซึ่งช่วงเวลาการเข้าสู่วัยทองของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสภาพความสมบูรณ์ของร่างกาย หากมีสุขภาพแข็งแรง ก็อาจทำให้ประจำเดือนยังคงมาอยู่ ในขณะที่สตรีในวัยเดียวกันอาจไม่มีแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องหมั่นสังเกต และดูแลสุขภาพให้ดี เพื่อรับมือกับช่วงวัยที่กำลังจะมาถึงนั่นเอง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณกำลังเข้าสู่ช่วงวัยทองแล้ว? มาดู 3 สัญญาณเข้าสู่วัยทองกัน
3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง มีอะไรบ้าง?
สัญญาณเข้าสู่วัยทอง สามารถเกิดได้หลายรูปแบบ โดยหลัก ๆ แล้วเกิดจากการที่ร่างกายนั้นขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน ทำให้ร่างกายนั้นเกิดผลกระทบหลาย ๆ อย่างต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการแปลก ๆ และโรคที่จะตามมาทั้งในช่วงที่ใกล้หมดประจำเดือน และหลังหมดประจำเดือน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนไปตามวัย อันได้แก่
1. อาการที่สัมพันธ์กับวัยหมดประจำเดือน (Menopausal related symptoms)
อาการที่สัมพันธ์กับการหมดประจำเดือน คือ ร้อนวูบวาบ เหงื่อไหล โดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังมีอาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ปวดศีรษะ ปวดตามข้อกระดูกต่าง ๆ และมีความรู้สึกทางเพศลดลงอีกด้วย ซึ่งก็ยังสามารถพบอาการในช่วงวัยทองได้อีกหลายอย่างเลยดังนี้
- อาการวูบวาบ เป็นอาการทางร่างกายที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นอาการที่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง โดยอาการที่พบบ่อยเป็นอาการร้อนตามตัว และใบหน้าอาจมีเหงื่อออกร่วมด้วย อาการนี้สามารถเกิดได้ทั้งในตอนกลางวัน และกลางคืน เมื่อวัดอุณหภูมิแล้ว ผิวหนังจะร้อนขึ้นหลายองศา นอกจากนี้อาการร้อนวูบวาบจะเกิดขึ้นบ่อยในช่วงปีแรกที่หมดประจำเดือน และอาจมีระยะเวลานานไปถึง 15 ปี หลังหมดประจำเดือน
- การเหี่ยวฝ่อของผิวหนัง ผิวหนังที่เหี่ยวแห้ง เล็บบางลง ผมร่วง เป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน ผลจากการความชรา ซึ่งทำให้เกิดการเสียคอลลาเจน ความหนาของผิวหนังลดลงหลังจากหมดประจำเดือน ซึ่งอาจสูญเสียคอลลาเจนถึงร้อยละ 30 ในช่วง 10 ปีแรก ดังนั้น การเสริมคอลลาเจนสำหรับวัยทอง จะสามารถช่วยชะลอความแก่ได้
- อาการทางใจ เป็นภาวะซึมเศร้า กังวล หงุดหงิด กระวนกระวาย นอนไม่หลับบ่อยขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีผลวิจัยที่ชี้ว่าอาการเหล่านี้มีผลมาจากการขาดฮอร์โมนเอสโทรเจน แต่พบว่าอาการทางจิตใจส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับการประสบเหตุการณ์ไม่ดีในชีวิต และความกังวลเกี่ยวกับร่างกายเพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่วัยชรา ความกังวลนี้อาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้
- อาการที่เกิดจากการเหี่ยวฝ่อของอวัยวะสืบพันธุ์ อาการที่เกิดการขาดเอสโทรเจน นั้นจะทำให้เกิดอาการฝ่อ และลดลงของเลือดที่ไปเลี่ยงอวัยวะเพศ และท่อปัสสาวะ ทำให้ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศบางลง ขนน้อยลง ปากช่องคลอดแคบลง ช่องคลอดหด และสั้นลง ส่งก่อให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง แสบร้อนในช่องคลอด อาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ในช่วงวัยทองนั่นเอง
2. โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด
การขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด ทำให้ไขมันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะไขมันในกลุ่ม LDL หรือไขมันเลว และยังส่งผลให้ไขมันในกลุ่ม HDL หรือไขมันดีลดลงด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ไขมันเข้าไปเกาะในผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดอุดตัน ทั้งในหลอดเลือดหัวใจและสมอง และเมื่อเข้าสู่วัยทองอัตราเสี่ยงเหล่านี้ก็จะยิ่งสูงขึ้น และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ อย่างเช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และมีความเครียดที่สูงขึ้น
3. โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย แต่อาจส่งผลต่อร่างกายในระยะยาวได้ ซึ่งผู้ที่เข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกไปอย่างรวดเร็วประมาณร้อยละ 20 ของมวลกระดูกทั้งหมด และเมื่อช่วงอายุ 70 ปี สตรีจะเสียมวลกระดูกไปมากถึงร้อยละ 50 ของมวลกระดูกทั้งหมดในร่างกายเลยทีเดียว ฉะนั้นแล้ว มาดูกันว่าการดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับวัยทองต้องทำอย่างไร
การดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับวัยทอง
อย่างที่ได้เห็นไปแล้วในข้างต้น จะเห็นได้ว่าการเข้าสู่ในวัยหมดประจำเดือนนั้น มีผลกระทบต่อร่างกายของสุภาพสตรีในวัย 48-52 ปี และวัยทอง อาการที่เกิดขึ้นก็มีหลายอย่างเลยด้วย เพื่อให้สามารถรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น ต้องมีวิธีรับมือที่ถูกต้องสำหรับอาการวัยทองที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้แก่ งดสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน
- ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นไปที่แคลเซียมสูง ไขมันต่ำ และไม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนที่มากเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทอง และกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากทำให้มีการสูญเสียแคลเซียม และยังทำให้ไตทำงานหนักเกินไปนั่นเอง
- ควรรับประทานแคลเซียมเสริม และวิตามินดี ในกรณีที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แต่การรับประทานในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดโรคไตได้ จึงควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะตามมาได้ในอนาคต
- การออกกำลังกายเป็นประจำ การรับมือกับสัญญาณว่าคุณกำลังเข้าสู่วัยทองที่ดีนั้น ควรเริ่มต้นจากการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายนั้นควรทำอย่างน้อย 3 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ และควรออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที สำหรับผู้ที่กำลังเข้าสู่ช่วงวัยทอง และผู้สูงอายุนั้น แนะนำว่าให้ออกกำลังกายเบา ๆ เน้นไปที่การเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น การเต้นแอโรบิก, การเดินเร็ว, การเล่นเทนนิส หรือการปั่นจักรยานเบา ๆ เป็นต้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทองนั้นมักจะเจอปัญหาการนอนไม่หลับ หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาในภายหลังได้ เช่น ความเครียด หรือความเหนื่อยล้าของร่างกาย เพราะฉะนั้นแล้วควรพักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน หรือหากไม่สามารถพักผ่อนให้เพียงพอได้ แนะนำว่าให้หากิจกรรมทำในระหว่างวัน หรือขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับประทานยาหรืออาหารเสริม
- ตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องทุกปี สุดท้ายในการดูแลสุขภาพในช่วงการหมดประจำเดือน นั่นก็คือการรับการตรวจสุขภาพกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้อาการที่เกิดขึ้นสามารถควบคุมได้ และยังเป็นการตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมออีกด้วย นอกจากนี้เมื่อผ่านช่วงวัยทองไปแล้วก็ควรรับการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าร่างกายของเรายังคงแข็งแรงอยู่ และไม่มีโรคภัยเข้ามาในชีวิต
สัญญาณเข้าสู่วัยทอง เป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องเริ่มสังเกตตัวเองเพื่อที่จะได้ดูแลตัวเองได้อย่าเหมาะสม อย่างไรก็ตามอาการในช่วงวัยทองนั้น เป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่งในชีวิตของเหล่าสุภาพสตรีเท่านั้น จึงหมั่นควรสังเกต และใส่ใจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถผ่านพ้นไปได้ด้วยดี และทำให้เราสามารถดำเนินชีวิตไปได้อย่างราบรื่นนั่นเอง
แหล่งที่มา:
- เช็กอาการเข้าข่าย “วัยทอง” หรือยัง?. https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/menopause