เจลาตินคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน

เจลาตินคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน

Table of Contents

เจลาตินคืออะไร ? เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยไม่น้อย มีบางคนบอกว่าเป็นคอลลาเจนบางคนบอกว่าเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของขนมน้ำตาลสูง เช่น หมากฝรั่ง วุ้น เยลลี่ ยิ่งทำให้สับสนไปกันใหญ่ว่าสุดท้ายแล้วเจลาติน คืออะไรกันแน่ เหมือนหรือต่างจากคอลลาเจนยังไง มีประโยชน์แค่ไหน หรือหาได้จากที่ไหนบ้าง รวมถึงข้อห้ามอะไรบ้างการใช้เจลาตินวันนี้เราจะพาไปไขข้อข้องใจ 


เจลาตินคืออะไร ได้มาจากไหน

เจลาตินคืออะไร ได้มาจากไหน

เจลาติน คือ โปรตีนที่ได้จากการสลายตัวของคอลลาเจน (ปรุงสุก) มีลักษณะหนืดคล้ายเจลหรือเยลลี่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี และเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวเมื่อได้รับความร้อน ถูกนำมาใช้ในหลายจุดประสงค์ เช่น แคปซูลยา ทำแยม เยลลี่ กาว ส่วนใหญ่สกัดจากกระดูกหรือหนังสัตว์หรือพืชที่มีคอลลาเจน 

1. เจลาตินจากสัตว์

สกัดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ที่มีคอลลาเจนและโปรตีน เช่น กระดูก หนังสัตว์ ฯลฯ

2. เจลาตินจากพืช 

เป็นเจลาตินที่ได้มาจากกระบวนการสกัดจากเส้นใยของพืช เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง สาหร่าย โดยให้มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และไม่มีส่วนประกอบของสัตว์เจือปน

3. เจลาตินจากสารสังเคราะห์ 

เกิดจากการใช้กรดและด่างในการย่อยสลายคอลลาเจน จนได้คอลลาเจนในรูปแบบสังเคราะห์ออกมา

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเจลาตินเป็นคอลลาเจนจริง เพียงแต่ถูกทำให้โมเลกุลเล็กลงจนกลายเป็นเจลาติน ส่วนเจลาตินที่เป็นส่วนประกอบของขนมที่มีน้ำตาลสูงก็ทำมาจากเจลาตินชนิดเดียวกัน แต่จะเลือกใช้เจลาตินจากสัตว์ จากพืช หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้


ประโยชน์ของคอลลาเจนในรูปแบบของเจลาติน

ประโยชน์ของคอลลาเจนในรูปแบบของเจลาติน

โดยทั่วไปแล้วเจลาตินกับคอลลาเจน มีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกัน ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้จากเจลาตินจึงมีผลเช่นเดียวกันกับคอลลาเจน ดังนี้

1. ซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกายและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ 

เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีนและกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น 

  • อะมิโนไกลซีน (Glycine) มีส่วนช่วยในการนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ร่างกายจึงมีเวลาสำหรับการซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับยาหลอกว่าเป็นไกลซีน และอีกกลุ่มได้รับยาไกลซีนจริง (กินก่อนนอน) ผลการทดลองพบว่าจะอาสาสมัครมีอาการเมื่อยล้าและง่วงนอนน้อยลงในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นขณะใช้งานคอมพิวเตอร์อีกด้วย
  • เมไทโอนิน (Methionine) กรดอะมิโนจำเป็นที่มีความสำคัญต่อระบบการผลิตเมลาโทนิน หรือสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการนอนหลับ ช่วยให้ร่างกายมีเวลาสำหรับการซ่อมแซมและฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่

2. มีประโยชน์ด้านความงาม

โดยมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจน บริเวณเส้นผม ผิวหนัง และเล็บ ช่วยให้เส้นผมผิวหนังแข็งแรงนุ่มชุ่มชื่นและดูสุขภาพดี

3. มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก 

เนื่องจากเจลาตินอุดมไปด้วยกรดกลูตามิก มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและลดอาการปวดท้อง อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีปริมาณแคลอรีและน้ำตาลต่ำ

4. บำรุงกระดูก

โดยเจลาตินจะเข้าไปทำหน้าที่ในการซ่อมแซมฟื้นฟูบำรุงกระดูกและข้อต่อ และมีประสิทธิภาพมากกว่าคอลลาเจน เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วกว่า

5. ลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็ง 

มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การได้รับเจลาตินในปริมาณที่เหมาะสมสามารถลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องรอผลการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าวว่าเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร

6. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

เนื่องจากเจลาตินมีแคลอรี่ต่ำและโปรตีนสูง จึงมีส่วนช่วยในการลดความอยากอาหาร อีกทั้งจากการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานจากความอ้วน พบว่าการกินเจลาตินติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปมีส่วนช่วยให้การอักเสบลดลงและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในระดับปกติได้ดีขึ้น


ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเจลาติน

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเจลาติน

นอกเหนือจากประโยชน์ด้านสุขภาพแล้ว เจลาติน คุณสมบัติหลักสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ดังนี้

1. ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ 

ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาหรือใช้เป็นตัวประสาน เพื่อทำให้เกิดเม็ดยาหรือยาอม หรือใช้เป็นตัวเคลือบห่อหุ้มตัวอย่าง เกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและอาหารเสริม ได้แก่

  • 150 Bloom ค่าความหนืด 30 – 36 mps ใช้ในการผลิตแคปซูลชนิดนิ่ม (soft capsule)
  • 250 Bloom ค่าความหนืด 45-48 mps ใช้ในการผลิตแคปซูลชนิดแข็ง (hard capsule)

2. ประโยชน์ทางด้านอาหาร 

เช่น นำมาใช้ประกอบอาหารแทนน้ำมัน เนื่องจากมีพลังงานต่ำกว่าใช้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์ ใช้สำหรับการเก็บรักษากลิ่น รสชาติของอาหารเคลือบ เป็นต้น โดยจะมีหลายเกรดให้เลือก ได้แก่

  • 100 Bloom ค่าความหนืด 20 – 30 mps ใช้ในการทำไอศกรีมและหมากฝรั่ง
  • 150 Bloom ค่าความหนืด 25 – 35 mps ใช้ในการทำไอศกรีมและหมากฝรั่ง
  • 200 Bloom ค่าความหนืด 28 – 34 mps ใช้ในการทำเจลลี่
  • 220 Bloom ค่าความหนืด 28 – 34 mps ใช้ผลิตเจลลี่และมาร์ชเมลโล
  • 250 Bloom ค่าความหนา 30 – 40 mps ใช้ผลิตเจลลี่และมาร์ชเมลโล

หรือมีจุดประสงค์ในการผสมในอาหารต่างกัน ดังนี้

  • ใช้ทดแทนไขมัน 
  • ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดความคงตัว 
  • ใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ ทำให้น้ำกับน้ำมันรวมตัวกันได้ดี
  • ใช้เป็นสารทำให้เกิดเจล

3. ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม

เช่น ใช้ในการผลิตธนบัตร กระดาษใส่เอกสาร หรือถูกนำไปใช้ในการผลิตเปียโนหรือเครื่องดนตรี การเย็บเล่มหนังสือ การผลิตผลไม้เทียม และอื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อยืดอายุการใช้งาน


การรับเจลาตินเข้าสู่ร่างกาย

การรับเจลาตินเข้าสู่ร่างกาย

โดยทั่วไปและร่างกายสามารถผลิตเจลาติน โครงสร้างขึ้นเองได้ เพียงแต่มีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับผ่านการกิน อาหารที่มีเจลาตินสูง เช่น

  • ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมเปรี้ยว นม UHT นมพาสเจอร์ไรส์ มาการีน เนยไขมันต่ำ โยเกิร์ต
  • ขนมหวาน เช่น หมากฝรั่ง มาชเมลโล่ ชีสเค้ก
  • อาหารกระป๋อง เช่น เนื้อสัตว์กระป๋อง อาหารสัตว์ อาหารทะเล ปลากระป๋อง ไส้กรอก
  • ผลิตภัณฑ์ซอส อาหารเหลว เช่น มาการีน น้ำสลัด โจ๊ก
  • อาหารเสริมเจลาติน 

ข้อห้ามการใช้เจลาติน

ข้อห้ามการใช้เจลาติน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เจลาตินจะมีคุณประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพความงามและหลายอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันการนำมาใช้ก็จำเป็นต้องมีข้อควรระวัง โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยหรือมีอาการ ดังนี้

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากเจลาตินมีส่วนในการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อโรคดังกล่าวให้มีอาการรุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ถุงน้ำดี และโรคเก๊าท์ เนื่องจากเจลาตินมีฤทธิ์เป็นออกซาเลตยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียม และจัดเป็นสารต้านฤทธิ์สารอาหาร หากได้รับเกินความจำเป็นจะเสี่ยงก่อให้เกิดการก่อตัวของหินในกระเพาะปัสสาวะ ในถุงน้ำดี และพัฒนากลายเป็นนิ่วตามมา
  • เกิดอาการแพ้ มีผลเนื่องมาจากส่วนผสมในเจลาติน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแพ้ส่วนประกอบหรือสารอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นก ารใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเจลาตินจึงจำเป็นต้องศึกษาส่วนประกอบให้ละเอียดว่าผลิตมาจากอะไร และตนเองแพ้หรือไม่
  • ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดหลอดเลือด และมีแนวโน้มมีปัญหาอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากการกินเจลาตินจะมีส่วนช่วยเพิ่มการแข็งตัวของเลือด และกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วย

สรุปได้ว่า เจลาติน คือ คอลลาเจนในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการปรุงสุกเพื่อให้โมเลกุลของคอลลาเจนมีขนาดเล็กลงและดูดซึมได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ จึงไม่ได้แตกต่างจากคอลลาเจนเลย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการซ่อมแซมฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอ บำรุงกระดูก ข้อต่อ หรือประโยชน์ในการบำรุงเส้นผมและผิวหนัง แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเจลาตินมีการใช้ในอุตสาหกรรมที่แพร่หลายกว่า เพราะไม่ได้ใช้เพียงแค่ในแง่ของความงาม แต่ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอุตสาหกรรมการแพทย์ และอื่น ๆ ร่วมด้วย นอกจากนั้น สำหรับคนที่สนใจอยากกินอาหารเสริมเจลาติน อย่าลืมดูที่คุณภาพและเกรดของเจลาตินด้วยว่าเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้คุณประโยชน์จากเจลาตินครบทุกประการ


อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง ครอบคลุมส่วนไหน
สาระความรู้
ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง ครอบคลุมส่วนไหน

เคยสงสัยไหมว่า เวลาพูดถึงคอลลาเจน ทำไมมีเจลาตินเข้ามาเป็นหนึ่งในหัวข้อสนทนา แล้วแท้จริง ประโยชน์ของเจลาติน นั้นมีอะไรบ้าง? ไปหาคำตอบด้วยกัน

อ่านต่อ
เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี?
สาระความรู้
เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี?

เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร ตั้งแต่กระบวนการผลิต จุดประสงค์ในการใช้งาน คุณสมบัติ ไปจนถึงแคลอรี ควรเลือกแบบไหนดี?

อ่านต่อ
3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง ช่วงเวลาสำคัญที่คุณต้องรู้
สาระความรู้
3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง ช่วงเวลาสำคัญที่คุณต้องรู้

3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง วิธีการรับมือกับช่วงวัยที่ใกล้หมดประจำเดือน จะมีอะไรที่คุณควรรู้บ้างนั้น เรารวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้

อ่านต่อ
เคล็ดลับบำรุงผิวเด็ก
สาระความรู้
เคล็ดลับบำรุงผิวเด็ก ดูแลผิวอย่างไร ถ้าไม่อยากให้แก่ไว 

เคล็ดลับบำรุงผิวเด็ก ถ้าไม่อยากให้แก่ไว คือ ทาครีมกันแดด นอนหลับอย่างมีคุณภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งเสริมด้วยเคล็ดลับบำรุงผิว

อ่านต่อ
อาหารฟื้นฟูผิวแห้ง
สาระความรู้
15 อาหารฟื้นฟูผิวแห้ง พร้อมเทคนิคฟื้นฟูผิวแบบเร่งด่วน

15 อาหารฟื้นฟูผิวแห้ง อุดมไปด้วยโปรตีน โอเมก้า 3 วิตามินบี 7 และวิตามินเอ พร้อมเทคนิคฟื้นฟูผิวแบบเร่งด่วน สำหรับคนผิวแห้ง

อ่านต่อ