เจลาตินคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน

เจลาตินคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน

Table of Contents

เจลาตินคืออะไร ? เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยไม่น้อย มีบางคนบอกว่าเป็นคอลลาเจนบางคนบอกว่าเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของขนมน้ำตาลสูง เช่น หมากฝรั่ง วุ้น เยลลี่ ยิ่งทำให้สับสนไปกันใหญ่ว่าสุดท้ายแล้วเจลาติน คืออะไรกันแน่ เหมือนหรือต่างจากคอลลาเจนยังไง มีประโยชน์แค่ไหน หรือหาได้จากที่ไหนบ้าง รวมถึงข้อห้ามอะไรบ้างการใช้เจลาตินวันนี้เราจะพาไปไขข้อข้องใจ 


เจลาตินคืออะไร ได้มาจากไหน

เจลาตินคืออะไร ได้มาจากไหน

เจลาติน คือ โปรตีนที่ได้จากการสลายตัวของคอลลาเจน (ปรุงสุก) มีลักษณะหนืดคล้ายเจลหรือเยลลี่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี และเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวเมื่อได้รับความร้อน ถูกนำมาใช้ในหลายจุดประสงค์ เช่น แคปซูลยา ทำแยม เยลลี่ กาว ส่วนใหญ่สกัดจากกระดูกหรือหนังสัตว์หรือพืชที่มีคอลลาเจน 

1. เจลาตินจากสัตว์

สกัดจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์ที่มีคอลลาเจนและโปรตีน เช่น กระดูก หนังสัตว์ ฯลฯ

2. เจลาตินจากพืช 

เป็นเจลาตินที่ได้มาจากกระบวนการสกัดจากเส้นใยของพืช เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง สาหร่าย โดยให้มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก และไม่มีส่วนประกอบของสัตว์เจือปน

3. เจลาตินจากสารสังเคราะห์ 

เกิดจากการใช้กรดและด่างในการย่อยสลายคอลลาเจน จนได้คอลลาเจนในรูปแบบสังเคราะห์ออกมา

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเจลาตินเป็นคอลลาเจนจริง เพียงแต่ถูกทำให้โมเลกุลเล็กลงจนกลายเป็นเจลาติน ส่วนเจลาตินที่เป็นส่วนประกอบของขนมที่มีน้ำตาลสูงก็ทำมาจากเจลาตินชนิดเดียวกัน แต่จะเลือกใช้เจลาตินจากสัตว์ จากพืช หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้


ประโยชน์ของคอลลาเจนในรูปแบบของเจลาติน

ประโยชน์ของคอลลาเจนในรูปแบบของเจลาติน

โดยทั่วไปแล้วเจลาตินกับคอลลาเจน มีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกัน ดังนั้น ประโยชน์ที่ได้จากเจลาตินจึงมีผลเช่นเดียวกันกับคอลลาเจน ดังนี้

1. ซ่อมแซมฟื้นฟูร่างกายและเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ 

เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีนและกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น 

  • อะมิโนไกลซีน (Glycine) มีส่วนช่วยในการนอนหลับได้ดียิ่งขึ้น ร่างกายจึงมีเวลาสำหรับการซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ได้รับยาหลอกว่าเป็นไกลซีน และอีกกลุ่มได้รับยาไกลซีนจริง (กินก่อนนอน) ผลการทดลองพบว่าจะอาสาสมัครมีอาการเมื่อยล้าและง่วงนอนน้อยลงในวันรุ่งขึ้น พร้อมกับมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นขณะใช้งานคอมพิวเตอร์อีกด้วย
  • เมไทโอนิน (Methionine) กรดอะมิโนจำเป็นที่มีความสำคัญต่อระบบการผลิตเมลาโทนิน หรือสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อการนอนหลับ ช่วยให้ร่างกายมีเวลาสำหรับการซ่อมแซมและฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่

2. มีประโยชน์ด้านความงาม

โดยมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจน บริเวณเส้นผม ผิวหนัง และเล็บ ช่วยให้เส้นผมผิวหนังแข็งแรงนุ่มชุ่มชื่นและดูสุขภาพดี

3. มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนัก 

เนื่องจากเจลาตินอุดมไปด้วยกรดกลูตามิก มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารและลดอาการปวดท้อง อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และมีปริมาณแคลอรีและน้ำตาลต่ำ

4. บำรุงกระดูก

โดยเจลาตินจะเข้าไปทำหน้าที่ในการซ่อมแซมฟื้นฟูบำรุงกระดูกและข้อต่อ และมีประสิทธิภาพมากกว่าคอลลาเจน เนื่องจากร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วกว่า

5. ลดความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็ง 

มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การได้รับเจลาตินในปริมาณที่เหมาะสมสามารถลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องรอผลการวิจัยยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติดังกล่าวว่าเป็นจริงหรือไม่ อย่างไร

6. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

เนื่องจากเจลาตินมีแคลอรี่ต่ำและโปรตีนสูง จึงมีส่วนช่วยในการลดความอยากอาหาร อีกทั้งจากการศึกษาในผู้ป่วยโรคเบาหวานจากความอ้วน พบว่าการกินเจลาตินติดต่อกันตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปมีส่วนช่วยให้การอักเสบลดลงและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่อยู่ในระดับปกติได้ดีขึ้น


ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเจลาติน

ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเจลาติน

นอกเหนือจากประโยชน์ด้านสุขภาพแล้ว เจลาติน คุณสมบัติหลักสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ อย่างแพร่หลาย ดังนี้

1. ประโยชน์ทางด้านการแพทย์ 

ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในกระบวนการผลิตยาหรือใช้เป็นตัวประสาน เพื่อทำให้เกิดเม็ดยาหรือยาอม หรือใช้เป็นตัวเคลือบห่อหุ้มตัวอย่าง เกรดที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาและอาหารเสริม ได้แก่

  • 150 Bloom ค่าความหนืด 30 – 36 mps ใช้ในการผลิตแคปซูลชนิดนิ่ม (soft capsule)
  • 250 Bloom ค่าความหนืด 45-48 mps ใช้ในการผลิตแคปซูลชนิดแข็ง (hard capsule)

2. ประโยชน์ทางด้านอาหาร 

เช่น นำมาใช้ประกอบอาหารแทนน้ำมัน เนื่องจากมีพลังงานต่ำกว่าใช้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผลิตภัณฑ์ ใช้สำหรับการเก็บรักษากลิ่น รสชาติของอาหารเคลือบ เป็นต้น โดยจะมีหลายเกรดให้เลือก ได้แก่

  • 100 Bloom ค่าความหนืด 20 – 30 mps ใช้ในการทำไอศกรีมและหมากฝรั่ง
  • 150 Bloom ค่าความหนืด 25 – 35 mps ใช้ในการทำไอศกรีมและหมากฝรั่ง
  • 200 Bloom ค่าความหนืด 28 – 34 mps ใช้ในการทำเจลลี่
  • 220 Bloom ค่าความหนืด 28 – 34 mps ใช้ผลิตเจลลี่และมาร์ชเมลโล
  • 250 Bloom ค่าความหนา 30 – 40 mps ใช้ผลิตเจลลี่และมาร์ชเมลโล

หรือมีจุดประสงค์ในการผสมในอาหารต่างกัน ดังนี้

  • ใช้ทดแทนไขมัน 
  • ใช้เป็นสารที่ทำให้เกิดความคงตัว 
  • ใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ ทำให้น้ำกับน้ำมันรวมตัวกันได้ดี
  • ใช้เป็นสารทำให้เกิดเจล

3. ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรม

เช่น ใช้ในการผลิตธนบัตร กระดาษใส่เอกสาร หรือถูกนำไปใช้ในการผลิตเปียโนหรือเครื่องดนตรี การเย็บเล่มหนังสือ การผลิตผลไม้เทียม และอื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อยืดอายุการใช้งาน


การรับเจลาตินเข้าสู่ร่างกาย

การรับเจลาตินเข้าสู่ร่างกาย

โดยทั่วไปและร่างกายสามารถผลิตเจลาติน โครงสร้างขึ้นเองได้ เพียงแต่มีปริมาณน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงจำเป็นต้องได้รับผ่านการกิน อาหารที่มีเจลาตินสูง เช่น

  • ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมเปรี้ยว นม UHT นมพาสเจอร์ไรส์ มาการีน เนยไขมันต่ำ โยเกิร์ต
  • ขนมหวาน เช่น หมากฝรั่ง มาชเมลโล่ ชีสเค้ก
  • อาหารกระป๋อง เช่น เนื้อสัตว์กระป๋อง อาหารสัตว์ อาหารทะเล ปลากระป๋อง ไส้กรอก
  • ผลิตภัณฑ์ซอส อาหารเหลว เช่น มาการีน น้ำสลัด โจ๊ก
  • อาหารเสริมเจลาติน 

ข้อห้ามการใช้เจลาติน

ข้อห้ามการใช้เจลาติน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เจลาตินจะมีคุณประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพความงามและหลายอุตสาหกรรม แต่ในขณะเดียวกันการนำมาใช้ก็จำเป็นต้องมีข้อควรระวัง โดยเฉพาะในผู้ที่ป่วยหรือมีอาการ ดังนี้

  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากเจลาตินมีส่วนในการเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อโรคดังกล่าวให้มีอาการรุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต ถุงน้ำดี และโรคเก๊าท์ เนื่องจากเจลาตินมีฤทธิ์เป็นออกซาเลตยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียม และจัดเป็นสารต้านฤทธิ์สารอาหาร หากได้รับเกินความจำเป็นจะเสี่ยงก่อให้เกิดการก่อตัวของหินในกระเพาะปัสสาวะ ในถุงน้ำดี และพัฒนากลายเป็นนิ่วตามมา
  • เกิดอาการแพ้ มีผลเนื่องมาจากส่วนผสมในเจลาติน โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแพ้ส่วนประกอบหรือสารอาหารที่มาจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นก ารใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเจลาตินจึงจำเป็นต้องศึกษาส่วนประกอบให้ละเอียดว่าผลิตมาจากอะไร และตนเองแพ้หรือไม่
  • ผู้ที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดหลอดเลือด และมีแนวโน้มมีปัญหาอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากการกินเจลาตินจะมีส่วนช่วยเพิ่มการแข็งตัวของเลือด และกลายเป็นปัญหาสำหรับผู้ป่วย

สรุปได้ว่า เจลาติน คือ คอลลาเจนในรูปแบบที่ผ่านกระบวนการปรุงสุกเพื่อให้โมเลกุลของคอลลาเจนมีขนาดเล็กลงและดูดซึมได้ง่ายขึ้น ดังนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ จึงไม่ได้แตกต่างจากคอลลาเจนเลย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการซ่อมแซมฟื้นฟูในส่วนที่สึกหรอ บำรุงกระดูก ข้อต่อ หรือประโยชน์ในการบำรุงเส้นผมและผิวหนัง แต่อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าเจลาตินมีการใช้ในอุตสาหกรรมที่แพร่หลายกว่า เพราะไม่ได้ใช้เพียงแค่ในแง่ของความงาม แต่ยังนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารอุตสาหกรรมการแพทย์ และอื่น ๆ ร่วมด้วย นอกจากนั้น สำหรับคนที่สนใจอยากกินอาหารเสริมเจลาติน อย่าลืมดูที่คุณภาพและเกรดของเจลาตินด้วยว่าเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าจะได้คุณประโยชน์จากเจลาตินครบทุกประการ


อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมวิตามินผิว
สาระความรู้
อาหารเสริมวิตามินผิว มีอะไรบ้าง ? เปิดสาเหตุเพิ่มวิตามินให้ผิว ดีอย่างไร

เพิ่ม อาหารเสริมวิตามินผิว เสริมได้ด้วยวิตามินซี นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกายได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความขาวกระจ่างใสได้มากกว่าเดิม

อ่านต่อ
เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี ? มาเพิ่มคอลลาเจนง่าย ๆ กัน

มองหา เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี มาดูกัน ตัวช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้มากกว่าเดิม พร้อมเพิ่มความกระชับ เต่งตึงให้ผิว

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด

โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด ทำง่าย เห็นผลจริง เพียงแค่เปลี่ยนแปลงบางพฤติกรรมที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

อ่านต่อ
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร
สาระความรู้
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร ? เลือกกินอย่างไรดี

คอลลาเจนแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร อะไรคือความแตกต่างของ คอลลาเจน Type II และ III เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและผิวหนังได้ง่าย ๆ

อ่านต่อ
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม
สาระความรู้
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม ยิ่งดูแลตัวเองดี ยิ่งหายได้ง่าย และเร็วขึ้น วิธีการดูแลร่างกายตัวเอง และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร?
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร?

โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร? หรืออาการเบื้องต้นของโรคข้อเสื่อม, รับประทานอะไรเพื่อบำรุงข้อต่อ หรือจะเป็นวิธีการดูแลรักษา บทความนี้มีคำตอบ

อ่านต่อ