โรคร้ายใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามไปคือ โรคที่เกี่ยวกับกระดูก และข้อต่อ เพราะนี่เป็นอวัยวะที่ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งเสื่อมสภาพไปทุกที ยังไม่รวมกับพฤติกรรมที่คุณใช้ร่างกายในแต่ละวันที่มีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง และทำลายแคลเซียมอยู่บ่อยครั้ง ในบทความนี้จะพาทุกคนมารู้จักกับ โรคข้อเสื่อม ว่าเกิดจากอะไร และมีวิธีดูแลอย่างไรเมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม รวมไปถึงวิธีการป้องกันเพื่อให้ผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคชนิดนี้ ถ้าทุกคนพร้อมกันแล้วไปติดตามเนื้อหาสาระที่นำมาฝากกันได้เลยที่นี่
สาเหตุของโรคข้อเสื่อม
เบื้องต้นอยากจะพาผู้อ่านทุกคนมารู้จักกับ โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร เพื่อให้คุณได้เห็นภาพรวมทั้งหมดของโรคประเภทนี้ และทราบอาการเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบร่างกายของตัวเองว่ามีความเสี่ยงมาก หรือน้อยแค่ไหนกับโรคดังกล่าว โรคข้อเสื่อม หรือโรคข้อกระดูกอ่อนเสื่อม นี่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ปกติ และมีให้เห็นมากเป็นพิเศษสำหรับผู้ที่เข้าช่วงวัยกลางคน
โดยสาเหตุหลักของโรคข้อเสื่อมนี้ มักจะเกิดจากความอ้วนที่ทำให้น้ำหนักตัวช่วงบนของคุณหนักเกินกว่าที่ร่างกายในช่วงล่างจะแบกรับไหว ทำให้ข้อต่อในส่วนต่าง ๆ เกิดการเสียดสีเป็นพิเศษ และทำให้เกิดข้อเสื่อมต่อมานั้นเอง ถึงแม้สาเหตุอย่างร่างกายขาดแคลเซียม หรือพฤติกรรมการใช้ร่างกายหนักเกิน จะเป็นตัวการบ่อนทำลายความแข็งแรงของทั้งกระดูก และข้อต่อของร่างกาย แต่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมนั้นกลับเป็นผลกระทบจากโรคอ้วนมากถึง 70%
อาการโรคข้อเสื่อม
เมื่อคุณเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร ได้บ้างกันมาแล้ว ในเนื้อหาส่วนนี้จะเป็นการให้ความสนใจเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม อาการที่มักพบในผู้ป่วย เพื่อเป็นข้อมูลให้คุณได้สำรวจตัวเองกัน เพราะยิ่งรู้ตัวเร็วเท่าไหร่ว่าร่างกายของคุณทำงานผิดปกติ และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ การได้รู้ตัว และหาวิธีรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
- รู้สึกปวดเข่าตลอดทุกครั้งที่เดินขึ้นบันได
- รู้สึกปวดหลัง และร้าวไปที่ขาจากการนั่งทำงานติดต่อหลายชั่วโมง
- นิ้วมือเริ่มบวมแบบไม่มีที่มาที่ไป
- ขณะใช้ชีวิตปกติ แต่เกิดเสียงกระดูกดังกระทบกันไปมา
- หัวไหล่ติด เริ่มขยับตัวได้ยากกว่าแต่ก่อน
นี่เป็นอาการพื้นฐานที่พบได้บ่อยจากผู้ที่เริ่มมีอาการโรคข้อเสื่อม ซึ่งส่วนมากแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเผชิญอยู่กับโรคข้อเสื่อม แต่ถ้าหากเช็กอาการเบื้องต้นแล้วมีความคาบเกี่ยวที่คุณอาจจะเป็นโรคข้อเสื่อม แต่ถ้าต้องการความมั่นใจเพิ่ม เพื่อให้เท่าทันโรคร้ายที่กำลังจะเกิดขึ้น แนะนำให้คุณไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการตรวจแบบเจาะลึกจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และดูแลตัวเองหากเป็นโรคข้อเสื่อมได้
วิธีการรักษาโรคข้อเสื่อม
หากคุณได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าอาการที่เกิดขึ้น และทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้ชีวิตได้เต็มที่เหมือนแต่ก่อน เป็นเพราะโรคข้อเสื่อม การดูแลโรคข้อเสื่อม การป้องกัน และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม วิธีรักษาจะกลายเป็นสิ่งที่คุณต้องรู้ เพื่อให้สามารถรับมือกับโรคข้อเสื่อมนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีวิธีการรักษาโรคข้อเสื่อมนี้ทำอย่างไรได้บ้าง ไปติดตามเนื้อหากันต่อได้เลย ดังนี้
- ลดน้ำหนัก
ตามที่ได้กล่าวไว้ในช่วงก่อนหน้าว่าสาเหตุหลักของการเกิดโรคข้อเสื่อมนั้นมาจากผลกระทบของโรคอ้วน ที่เป็นการเพิ่มภาระให้กับร่างกายในส่วนล่าง วิธีการแก้ไขปัญหาเรื่องโรคข้อเสื่อมที่ตรงจุดที่สุด คงหนีไม่พ้นกับการลดน้ำหนักอย่างแน่นอน เพราะการลดน้ำหนักเพียงแค่ 1 กิโลกรัม จะช่วยลดการเสียดสี และลดแรงกระแทกได้มากถึง 3 กิโลกรัมกันเลยทีเดียว
- เปลี่ยนท่านั่ง
สำหรับผู้ที่มีอาการเบื้องต้นของโรคข้อเสื่อมแล้ว สิ่งที่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมโดยด่วนคือ ท่านั่ง คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงท่านั่งพับเพียบ, นั่งขัดสมาธิ รวมถึงการนั่งคุกเข่า และการนั่งยองด้วย เนื่องจากท่านั่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างข้อต่อได้มาก แต่เปลี่ยนมานั่งเก้าอี้ที่อยู่เหนือระดับเข่า เพื่อให้ปลายเท้าของคุณนั้นสามารถแตะพื้นได้พอดี
- เปลี่ยนลักษณะการขับถ่าย
ยังคงอยู่กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างการนั่งกันอย่างต่อเนื่อง แต่ในส่วนนี้จะเป็นการเปลี่ยนลักษณะการขับถ่าย หลีกเลี่ยงการยืนแอ่น หรือการขับถ่ายในท่าอื่น และหันมานั่งบนโถแทน เพราะการยืนโดยให้ส่วนล่างของร่างกายแบกรับน้ำหนักตัว เป็นสิ่งที่คุณควรหลีกเลี่ยง และงดทำไปยาว ๆ ในช่วงที่เป็นโรคข้อเสื่อมนี้
- เลี่ยงการใช้บันได
การขึ้น-ลงบันได เป็นการออกกำลังกายพื้นฐาน ที่ในตอนนี้หลายองค์กรพยายามรณรงค์ให้พนักงานในองค์กรของตัวเอง ขึ้น-ลงบันไดกัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายได้ออกกำลังกายบ้าง แต่สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้อเสื่อม นี่เป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยงโดยเด็ดขาด เพราะการขึ้นลงบันไดของคุณนั้นจะไม่ใช่การออกกำลังกาย แต่เป็นการเร่งให้ข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม เนื่องจากการขึ้นลงบันไดจะทำให้อวัยวะดังกล่าวเสียดสีกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด เมื่อต้องทำให้ข้อต่อเสียดสี และยังเป็นการทำลายสุขภาพกระดูกบริเวณดังกล่าวอีกด้วย
- ควรเดินบนทางราบ
นอกจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการนั่ง และการใช้ชีวิตในบางส่วนแล้ว สิ่งที่คุณควรต้องรู้ไว้คือ หากเป็นโรคข้อเสื่อมการเลือกทางเดินเท้า ควรเลือกเดินทางราบเป็นหลัก หลีกเลี่ยงการเดินทางบนทางที่ขรุขระ และทางที่คดเคี้ยว เนื่องจากการได้เดินทางราบนั้นจะไม่ต้องทำให้คุณงอเข่า และเกิดการเสียดสีเหมือนกันกับการเดินทางขรุขระ
สิ่งที่อยากแนะนำเพิ่มคือ การเลือกรองเท้าที่ใส่ได้พอดี และมีเบาะรองเท้าแบบนุ่ม ๆ เพื่อลดแรงกระแทกที่อาจจะเกิดขึ้นกับการเดินเท้าของคุณ ยิ่งรองเท้าสนับสนุนการเดินมากเท่าไหร่ ก็เป็นการลดความเสี่ยง และอาการบาดเจ็บให้กับคุณได้อีกทาง ใครที่กำลังเผชิญกับโรคข้อเสื่อมกันอยู่ อย่าลืมที่จะเปลี่ยนรองเท้าให้ใส่ง่าย เดินสะดวกด้วยเบาะรองเท้านุ่ม ๆ กัน
- ควรนอนบนเตียง
ใครที่ชื่นชอบการนอนบนเตียงสไตล์เกาหลี ที่มีเพียงแค่เบาะรองนอนเท่านั้น คุณอาจจะต้องลองลงทุนกับการเลือกซื้อท็อปเปอร์ที่ทำให้การนอนสะดวกสบาย และเพิ่มความนิ่มระหว่างการนอนให้มากยิ่งขึ้น เพราะการนอนบนเบาะรองนอนแต่เพียงอย่างเดียวนั้น อาจจะทำให้คุณต้องงอคอ และงอเข่า ซึ่งพฤติกรรมการนอนในลักษณะนั้น จะทำให้คุณเผลอทำให้ข้อต่อต้องเสียดสีโดยไม่รู้ตัว การเสริมด้วยเบาะที่นอนนุ่ม ๆ จะช่วยลดทั้งอาการบาดเจ็บ รวมไปถึงป้องกันการเสียดสีเพิ่มเติมอีกด้วย
- ออกกำลังกายบริหารเข่า
ถึงแม้ว่าช่วงที่คุณกำลังเกิดความเสียหายบริเวณข้อต่อ อาจจะเป็นช่วงที่ต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้ข้อต่อเกิดความเสียหายเพิ่มเติม แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการออกกำลังกายที่ลดแรงกระแทก และเสริมความแข็งแรงของข้อต่อบริเวณเข่า ซึ่งคุณสามารถหาแผนการออกกำลังกายที่เน้นการบริหารเข่าได้จากอินเทอร์เน็ต ยิ่งอ่อนแอ ต้องยิ่งดูแล และเสริมความแข็งแกร่ง
นี่เป็นภาพรวมของทั้ง โรคข้อเสื่อม เกิดจากอะไร ที่รวมไปถึงวิธีการดูแล และรักษาอาการข้อเสื่อมในเบื้องต้น อย่างไรก็ดี คุณควรที่จะเสริมด้วยการรับประทานอาหารลดอาการข้อเสื่อมที่เน้นแคลเซียม โปรตีน และแร่ธาตุที่ช่วยทำให้มวลกระดูกแข็งแรงขึ้น และเกิดการฟื้นฟูภายในอย่างธาตุเหล็ก หวังว่าบทความนี้จะช่วยคลายความสงสัยในการดูแลตัวเองจากการเป็นโรคสุดคลาสสิกอย่างโรคข้อเสื่อม ใครที่มีคำถาม ข้อเสื่อม กินอะไรดี ในส่วนท้ายนี้น่าจะเป็นคำตอบที่ครอบคลุม และเสริมภูมิความรู้ในการดูแลตัวเองเบื้องต้นให้กับทุกคนได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
- โรคข้อเสื่อมและอาการของโรค. https://www.bumrungrad.com/th/conditions/osteoarthritis
- โรคข้อเสื่อม เมื่อกระดูกอ่อนผุกร่อน รักษาได้แต่ไม่หายขาด. https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Osteoarthritis-When-Cartilage-wears-out-can-be-Treated-but-not-Completely