Calcium Lactate ช่วยอะไร ? ออกฤทธิ์อย่างไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง มาดูกัน

Calcium Lactate ช่วยอะไร

Table of Contents

Calcium Lactate ช่วยอะไร ? อย่างแรกที่ต้องรู้เลยคือ Calcium Lactate ยาที่ใช้รักษาอาารป่วยในภาวะขาดแคลเซียมเองก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในหมู่ผู้สูงอายุที่ร่างกายในอายุนี้มักจะเริ่มมีแคลเซียมในร่างกายน้อยลง ทำให้เกิดสภาวะกระดูกเปราะ แตกหักได้ง่าย สำหรับบทความนี้เราเลยจะพาคุณมาเรียนรู้เกี่ยวกับยาชนิดนี้ให้มากขึ้น คุณจะได้ศึกาาเกี่ยวกับ Calcium Lactate ช่วยอะไร และคืออะไร ?, Calcium Lactate มีหลักการทำงานและกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร,วิธีรับประทาน Calcium Lactate, อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรับประทานยา Calcium Lactate และ Calcium Lactate กับข้อควรระวังที่ควรรู้ไว้ 


Calcium Lactate ช่วยอะไร และคืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

Calcium Lactate ช่วยอะไร และคืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

Calcium Lactate หรือ Ca lactate (แคลเซียมแลคเตท) คือ ยาที่นำมาใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดแคลเซียม โดยลักษณะทางกายภาพยาของยาชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นผลึก ในส่วนของกระบวนการผลิตนั้นก็จะสามารถเกิดแคลเซียมแลคเตทขึ้นได้ตามธรรมชาติจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Calcium carbonate (แคลเซียมคาร์บอเนต) กับ Lactic acid (กรดแลคติก) นอกจากนั้นแล้วก็ยังสามารถพบแคลเซียมแลคเตทได้ในชีสหรือว่าเนยแข็งต่าง ๆ ด้วย

สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารก็ได้มีการนำเอาแคลเซียมแลคเตทมาใช้เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาล โดยการใส่แคลเซียมแลคเตทเป็นส่วนผสมก็เพื่อที่จะช่วยให้มีจุดขายมากขึ้น ซึ่งในผลิตภัณฑ์ก็จะมีการระบุเอาไว้ว่าทานแล้วจะไม่ทำให้ฟันผุ เนื่องจากว่าสารแคลเซียมแลคเตทเป็นสิ่งที่จะคอยเสริมสร้างสารเคลือบฟันเอาไว้ นอกจากนั้นแล้วก็ยังได้มีการนำเอาสารแคลเซียมแลคเตทมาใช้เป็นส่วนประกอบของการทำยาลดกรดด้วยนั่นเอง

เรื่องของการที่ Calcium Lactate ช่วยอะไรก็คงเป็นสิ่งที่จะต้องมีผู้สงสัยอยู่ด้วยแน่นอน โดยแคลเซียมแลคเตทมีคุณสมบัติที่ใช้ในการรักษาโรคอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการที่สามารถช่วยบำบัดรักษาภาวะขาดแคลเซียมของร่างกาย, การช่วยรักษาอาการกระดูกน่วมกระดูกอ่อน, การช่วยรักษาภาวะข้อเสื่อมหรือกระดูกพรุน, การช่วยรักษาภาวะความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์หรือต่อมเคียงไทรอยด์ อีกทั้งยังมีความสามารถในการช่วยรักษาโรคที่กระดูกมีลักษณะอ่อนนิ่มไม่แข็งจากร่างกายขาดสมดุลในส่วนของน้ำและเกลือแร่ รวมถึงการที่ร่างกายขาดสมดุลของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส


Calcium Lactate มีหลักการทำงานและกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร

Calcium Lactate มีหลักการทำงานและกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร

ก่อนหน้านี้ก็คงจะช่วยให้ได้ทราบกันไปแล้วว่า calcium lactate คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ในส่วนต่อมาก็จะเป็นเรื่องของกลไกการทำงานและการออกฤทธิ์ของตัวยา โดยทั่วไปแล้วยาแคลเซียมแลคเตทจะทำการปล่อยธาตุแคลเซียมให้กับร่างกายในปริมาณ 13% เท่านั้นเอง จึงทำให้ต้องมีการบริโภคยาให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับยาแคลเซียมแลคเตทแล้ว ตัวยาก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางลำไส้เล็ก และหลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดได้แล้ว ร่างกายก็จะนำเอาสารจากตัวยาไปใช้ซ่อมแซมกระดูกและการช่วยรักษาสมดุลของเกลือแคลเซียมในเลือด

ในส่วนแคลเซียมที่เป็นส่วนเกินร่างกายก็จะขับออกมาผ่านทางปัสสาวะ และแคลเซียมบางส่วนก็อาจจะถูกขับออกมากับน้ำดีได้ด้วย

โดยก่อนที่จะสามารถใช้ยาแคลเซียมแลคเตทได้แพทย์มักจะมีการตรวจผู้ป่วยก่อนเสมอ เช่น การตรวจร่างกาย หรือว่าการตรวจมวลกระดูก รวมถึงจะมีการซักประวัติเพิ่มเติมด้วย ซึ่งการที่จะต้องทำเช่นนี้ก่อนก็เพราะว่าการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่น้อยไปจะทำให้ไม่สามารถรักษาอาการโรคข้อกระดูกเสื่อมของผู้ป่วยได้ ส่วนหากว่ารับแคลเซียมมากไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของหัวใจตามมาได้ด้วย ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นต้องให้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น


วิธีรับประทาน Calcium Lactate

วิธีรับประทาน Calcium Lactate

นอกจากที่จะต้องทราบในส่วนของ calcium lactate ประโยชน์หรือว่าการออกฤทธิ์ของตัวยาแล้วว่าเป็นอย่างไร ในเรื่องของวิธีการทานยาแคลเซียมแลคเตทเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เอาไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการต่อร่างกายในการรักษาโรค สำหรับขนาดของยาและปริมาณการทานยานั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการและโรคที่เป็น ดังนั้นจึงต้องอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาโรคด้วยว่าจะให้ทานยาในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวอย่างของปริมาณยาที่เหมาะสมก็มีดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่ป่วยเป็นภาวะขาดแคลเซียมและมีอาการเกี่ยวกับกระดูกน่วมกระดูกอ่อน ผู้ใหญ่ควรจะทานยาวันละ 2-3 ครั้ง ในปริมาณครั้งละ 325 – 650 มิลลิกรัม ซึ่งอาจจะมีการทานแคลเซียมแลคเตทร่วมกับวิตามินดีตามที่แพทย์สั่งได้ด้วย
  • ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ผู้ใหญ่ควรจะทานยาวันละ 3 ครั้ง ในปริมาณครั้งละ 325 – 650 มิลลิกรัม
  • ในกรณีของเด็กที่จำเป็นจะต้องใช้ยาแคลเซียมแลคเตท ก็จะมักใช้เมื่อเด็กมีแคลเซียมในร่างกายต่ำ โดยในการให้ยาแคลเซียมแลคเตทกับเด็กจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น เช่น การให้ทานในปริมาณ 45 – 65 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่งในการทานยาก็จะแบ่งให้เด็กทานวันละ 4 ครั้ง
  • การทานยาแคลเซียมแลคเตทนั้นหากว่าทานพร้อมกับอาหาร ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมเอาแคลเซียมแลคเตทไปใช้ได้ดีขึ้น

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

การทานยา calcium lactate มีประโยชน์และสามารถที่จะช่วยรักษาโรคได้หลายอย่างก็จริง แต่ก็เป็นยาที่เมื่อทานเข้าไปแล้วอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ขึ้นมาได้ด้วย ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นก็มาได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการทานยาแคลเซียมแลคเตทก็มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเป็นผื่นคัน, มีอาการหายใจไม่ออกหรือหายใจลำบาก, มีใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือว่าคอ เกิดอาการบวม, มีอาการคลื่นไส้อาเจียน, เบื่ออาหาร, ท้องผูก, รู้สึกว่าปากคอแห้ง, กระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับยาแคลเซียมแลคเตทในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้มีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการอาเจียน, รู้สึกเบื่ออาหาร, เกิดความรู้สึกสับสน และผู้ป่วยบางรายก็อาจจะเกิดภาวะโคม่าได้เลย ซึ่งหากพบอาการที่กล่าวไปนี้ก็ให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีและไม่เกิดอันตรายตามมา


ข้อควรระวังที่ควรรู้ไว้

ข้อควรระวังที่ควรเข้าเอาไว้

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าการทานยา calcium lactate เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แต่ในขณะเดียวกันหากว่าทานไม่ถูกต้อง หรือทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ และที่สำคัญการที่จะสามารถใช้ยาได้จะต้องอยู่ภายใต้ของคำสั่งแพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การทานยาแคลเซียมแลคเตทก็มีข้อควรระวังที่จำเป็นต้องรู้อยู่ด้วย ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • ยาแคลเซียมแลคเตทอาจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน ซึ่งหากรู้ว่าแพ้ก็ควรหลีกเลี่ยง
  • ผู้ที่ป่วยเป็นลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติ
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนิ่วในไต
  • ผู้ที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ (ต่อมเคียงไทรอยด์) ที่มีการทำงานมากกว่าปกติ
  • ผู้ที่ตรวจปัสสาวะพบมีภาวะเกลือแคลเซียมในปัสสาวะมาก
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะเกลือแคลเซียมในเลือดสูง
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะร่างกายสูญเสียน้ำ หรือร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ
  • ควรระวังในการใช้ยาแคลเซียมแลคเตทกับเด็กที่อยู่ในภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ควรระวังในการใช้ยาแคลเซียมแลคเตทกับผู้ป่วยโรคไต และ โรคหัวใจ
  • ควรระวังในการใช้ยาแคลเซียมแลคเตทกับการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์ หรือสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร รวมถึงเด็ก และผู้สูงอายุ ซึ่งการใช้ยาควรจะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
  • ห้ามแบ่งยาแคลเซียมแลคเตทให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาแคลเซียมแลคเตทที่หมดอายุแล้ว

ทั้งหมดนี้ก็คงจะช่วยทำให้ได้เข้าใจกันมากขึ้นแล้วถึงเรื่องของตัวยาแคลเซียมแลคเตท ที่จะต้องทานอย่างระมัดระวังรวมถึงจะต้องทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำสั่งของแพทย์ เพราะตัวยาแคลเซียมแลคเตทไม่เพียงแค่มีข้อดีเท่านั้น แต่ยังมีโทษที่ส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการทานยาไม่ว่าจะเป็นยาชนิดไหนก็ตามควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรืออ่านฉลากให้เข้าใจก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ทานยาแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายตามมา


อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง ครอบคลุมส่วนไหน
สาระความรู้
ประโยชน์ของเจลาติน มีอะไรบ้าง ครอบคลุมส่วนไหน

เคยสงสัยไหมว่า เวลาพูดถึงคอลลาเจน ทำไมมีเจลาตินเข้ามาเป็นหนึ่งในหัวข้อสนทนา แล้วแท้จริง ประโยชน์ของเจลาติน นั้นมีอะไรบ้าง? ไปหาคำตอบด้วยกัน

อ่านต่อ
เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี?
สาระความรู้
เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี?

เจลาติน vs คอลลาเจน ต่างกันอย่างไร ตั้งแต่กระบวนการผลิต จุดประสงค์ในการใช้งาน คุณสมบัติ ไปจนถึงแคลอรี ควรเลือกแบบไหนดี?

อ่านต่อ
เจลาตินคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน
สาระความรู้
เจลาตินคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร หาได้จากที่ไหน

เจลาตินคืออะไร ? คำตอบคือ โปรตีนที่ได้จากการสลายตัวของคอลลาเจน (ปรุงสุก) มีลักษณะหนืดคล้ายเจลหรือเยลลี่มีคุณสมบัติดูดซับน้ำได้ดี

อ่านต่อ
3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง ช่วงเวลาสำคัญที่คุณต้องรู้
สาระความรู้
3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง ช่วงเวลาสำคัญที่คุณต้องรู้

3 สัญญาณเข้าสู่วัยทอง วิธีการรับมือกับช่วงวัยที่ใกล้หมดประจำเดือน จะมีอะไรที่คุณควรรู้บ้างนั้น เรารวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้

อ่านต่อ
เคล็ดลับบำรุงผิวเด็ก
สาระความรู้
เคล็ดลับบำรุงผิวเด็ก ดูแลผิวอย่างไร ถ้าไม่อยากให้แก่ไว 

เคล็ดลับบำรุงผิวเด็ก ถ้าไม่อยากให้แก่ไว คือ ทาครีมกันแดด นอนหลับอย่างมีคุณภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งเสริมด้วยเคล็ดลับบำรุงผิว

อ่านต่อ
อาหารฟื้นฟูผิวแห้ง
สาระความรู้
15 อาหารฟื้นฟูผิวแห้ง พร้อมเทคนิคฟื้นฟูผิวแบบเร่งด่วน

15 อาหารฟื้นฟูผิวแห้ง อุดมไปด้วยโปรตีน โอเมก้า 3 วิตามินบี 7 และวิตามินเอ พร้อมเทคนิคฟื้นฟูผิวแบบเร่งด่วน สำหรับคนผิวแห้ง

อ่านต่อ