Calcium Lactate ช่วยอะไร ? ออกฤทธิ์อย่างไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง มาดูกัน

Calcium Lactate ช่วยอะไร

Table of Contents

Calcium Lactate ช่วยอะไร ? อย่างแรกที่ต้องรู้เลยคือ Calcium Lactate ยาที่ใช้รักษาอาารป่วยในภาวะขาดแคลเซียมเองก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและสามารถเกิดขึ้นได้บ่อย โดยเฉพาะในหมู่ผู้สูงอายุที่ร่างกายในอายุนี้มักจะเริ่มมีแคลเซียมในร่างกายน้อยลง ทำให้เกิดสภาวะกระดูกเปราะ แตกหักได้ง่าย สำหรับบทความนี้เราเลยจะพาคุณมาเรียนรู้เกี่ยวกับยาชนิดนี้ให้มากขึ้น คุณจะได้ศึกาาเกี่ยวกับ Calcium Lactate ช่วยอะไร และคืออะไร ?, Calcium Lactate มีหลักการทำงานและกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร,วิธีรับประทาน Calcium Lactate, อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรับประทานยา Calcium Lactate และ Calcium Lactate กับข้อควรระวังที่ควรรู้ไว้ 


Calcium Lactate ช่วยอะไร และคืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

Calcium Lactate ช่วยอะไร และคืออะไร มาทำความเข้าใจกัน

Calcium Lactate หรือ Ca lactate (แคลเซียมแลคเตท) คือ ยาที่นำมาใช้สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะขาดแคลเซียม โดยลักษณะทางกายภาพยาของยาชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นผลึก ในส่วนของกระบวนการผลิตนั้นก็จะสามารถเกิดแคลเซียมแลคเตทขึ้นได้ตามธรรมชาติจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง Calcium carbonate (แคลเซียมคาร์บอเนต) กับ Lactic acid (กรดแลคติก) นอกจากนั้นแล้วก็ยังสามารถพบแคลเซียมแลคเตทได้ในชีสหรือว่าเนยแข็งต่าง ๆ ด้วย

สำหรับในอุตสาหกรรมอาหารก็ได้มีการนำเอาแคลเซียมแลคเตทมาใช้เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาล โดยการใส่แคลเซียมแลคเตทเป็นส่วนผสมก็เพื่อที่จะช่วยให้มีจุดขายมากขึ้น ซึ่งในผลิตภัณฑ์ก็จะมีการระบุเอาไว้ว่าทานแล้วจะไม่ทำให้ฟันผุ เนื่องจากว่าสารแคลเซียมแลคเตทเป็นสิ่งที่จะคอยเสริมสร้างสารเคลือบฟันเอาไว้ นอกจากนั้นแล้วก็ยังได้มีการนำเอาสารแคลเซียมแลคเตทมาใช้เป็นส่วนประกอบของการทำยาลดกรดด้วยนั่นเอง

เรื่องของการที่ Calcium Lactate ช่วยอะไรก็คงเป็นสิ่งที่จะต้องมีผู้สงสัยอยู่ด้วยแน่นอน โดยแคลเซียมแลคเตทมีคุณสมบัติที่ใช้ในการรักษาโรคอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการที่สามารถช่วยบำบัดรักษาภาวะขาดแคลเซียมของร่างกาย, การช่วยรักษาอาการกระดูกน่วมกระดูกอ่อน, การช่วยรักษาภาวะข้อเสื่อมหรือกระดูกพรุน, การช่วยรักษาภาวะความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์หรือต่อมเคียงไทรอยด์ อีกทั้งยังมีความสามารถในการช่วยรักษาโรคที่กระดูกมีลักษณะอ่อนนิ่มไม่แข็งจากร่างกายขาดสมดุลในส่วนของน้ำและเกลือแร่ รวมถึงการที่ร่างกายขาดสมดุลของธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส


Calcium Lactate มีหลักการทำงานและกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร

Calcium Lactate มีหลักการทำงานและกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร

ก่อนหน้านี้ก็คงจะช่วยให้ได้ทราบกันไปแล้วว่า calcium lactate คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ในส่วนต่อมาก็จะเป็นเรื่องของกลไกการทำงานและการออกฤทธิ์ของตัวยา โดยทั่วไปแล้วยาแคลเซียมแลคเตทจะทำการปล่อยธาตุแคลเซียมให้กับร่างกายในปริมาณ 13% เท่านั้นเอง จึงทำให้ต้องมีการบริโภคยาให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับยาแคลเซียมแลคเตทแล้ว ตัวยาก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางลำไส้เล็ก และหลังจากนั้นเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดได้แล้ว ร่างกายก็จะนำเอาสารจากตัวยาไปใช้ซ่อมแซมกระดูกและการช่วยรักษาสมดุลของเกลือแคลเซียมในเลือด

ในส่วนแคลเซียมที่เป็นส่วนเกินร่างกายก็จะขับออกมาผ่านทางปัสสาวะ และแคลเซียมบางส่วนก็อาจจะถูกขับออกมากับน้ำดีได้ด้วย

โดยก่อนที่จะสามารถใช้ยาแคลเซียมแลคเตทได้แพทย์มักจะมีการตรวจผู้ป่วยก่อนเสมอ เช่น การตรวจร่างกาย หรือว่าการตรวจมวลกระดูก รวมถึงจะมีการซักประวัติเพิ่มเติมด้วย ซึ่งการที่จะต้องทำเช่นนี้ก่อนก็เพราะว่าการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมในปริมาณที่น้อยไปจะทำให้ไม่สามารถรักษาอาการโรคข้อกระดูกเสื่อมของผู้ป่วยได้ ส่วนหากว่ารับแคลเซียมมากไปก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของหัวใจตามมาได้ด้วย ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นต้องให้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น


วิธีรับประทาน Calcium Lactate

วิธีรับประทาน Calcium Lactate

นอกจากที่จะต้องทราบในส่วนของ calcium lactate ประโยชน์หรือว่าการออกฤทธิ์ของตัวยาแล้วว่าเป็นอย่างไร ในเรื่องของวิธีการทานยาแคลเซียมแลคเตทเองก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้เอาไว้ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการต่อร่างกายในการรักษาโรค สำหรับขนาดของยาและปริมาณการทานยานั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของอาการและโรคที่เป็น ดังนั้นจึงต้องอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์ผู้รักษาโรคด้วยว่าจะให้ทานยาในปริมาณมากน้อยแค่ไหน ซึ่งตัวอย่างของปริมาณยาที่เหมาะสมก็มีดังต่อไปนี้

  • ในกรณีที่ป่วยเป็นภาวะขาดแคลเซียมและมีอาการเกี่ยวกับกระดูกน่วมกระดูกอ่อน ผู้ใหญ่ควรจะทานยาวันละ 2-3 ครั้ง ในปริมาณครั้งละ 325 – 650 มิลลิกรัม ซึ่งอาจจะมีการทานแคลเซียมแลคเตทร่วมกับวิตามินดีตามที่แพทย์สั่งได้ด้วย
  • ในกรณีที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ผู้ใหญ่ควรจะทานยาวันละ 3 ครั้ง ในปริมาณครั้งละ 325 – 650 มิลลิกรัม
  • ในกรณีของเด็กที่จำเป็นจะต้องใช้ยาแคลเซียมแลคเตท ก็จะมักใช้เมื่อเด็กมีแคลเซียมในร่างกายต่ำ โดยในการให้ยาแคลเซียมแลคเตทกับเด็กจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น เช่น การให้ทานในปริมาณ 45 – 65 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัมของน้ำหนักตัวเด็ก ซึ่งในการทานยาก็จะแบ่งให้เด็กทานวันละ 4 ครั้ง
  • การทานยาแคลเซียมแลคเตทนั้นหากว่าทานพร้อมกับอาหาร ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมเอาแคลเซียมแลคเตทไปใช้ได้ดีขึ้น

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้

การทานยา calcium lactate มีประโยชน์และสามารถที่จะช่วยรักษาโรคได้หลายอย่างก็จริง แต่ก็เป็นยาที่เมื่อทานเข้าไปแล้วอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ขึ้นมาได้ด้วย ทั้งนี้อาการที่เกิดขึ้นก็มาได้จากหลากหลายปัจจัย ซึ่งผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์จากการทานยาแคลเซียมแลคเตทก็มีหลายอย่างด้วยกัน เช่น การเป็นผื่นคัน, มีอาการหายใจไม่ออกหรือหายใจลำบาก, มีใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือว่าคอ เกิดอาการบวม, มีอาการคลื่นไส้อาเจียน, เบื่ออาหาร, ท้องผูก, รู้สึกว่าปากคอแห้ง, กระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ได้รับยาแคลเซียมแลคเตทในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้มีผลข้างเคียงหลายอย่างตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการอาเจียน, รู้สึกเบื่ออาหาร, เกิดความรู้สึกสับสน และผู้ป่วยบางรายก็อาจจะเกิดภาวะโคม่าได้เลย ซึ่งหากพบอาการที่กล่าวไปนี้ก็ให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีและไม่เกิดอันตรายตามมา


ข้อควรระวังที่ควรรู้ไว้

ข้อควรระวังที่ควรเข้าเอาไว้

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าการทานยา calcium lactate เป็นสิ่งที่มีประโยชน์แต่ในขณะเดียวกันหากว่าทานไม่ถูกต้อง หรือทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้ และที่สำคัญการที่จะสามารถใช้ยาได้จะต้องอยู่ภายใต้ของคำสั่งแพทย์เป็นผู้สั่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การทานยาแคลเซียมแลคเตทก็มีข้อควรระวังที่จำเป็นต้องรู้อยู่ด้วย ซึ่งมีดังต่อไปนี้

  • ยาแคลเซียมแลคเตทอาจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ในบางคน ซึ่งหากรู้ว่าแพ้ก็ควรหลีกเลี่ยง
  • ผู้ที่ป่วยเป็นลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติ
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนิ่วในไต
  • ผู้ที่มีภาวะต่อมพาราไทรอยด์ (ต่อมเคียงไทรอยด์) ที่มีการทำงานมากกว่าปกติ
  • ผู้ที่ตรวจปัสสาวะพบมีภาวะเกลือแคลเซียมในปัสสาวะมาก
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะเกลือแคลเซียมในเลือดสูง
  • ผู้ที่อยู่ในภาวะร่างกายสูญเสียน้ำ หรือร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ
  • ควรระวังในการใช้ยาแคลเซียมแลคเตทกับเด็กที่อยู่ในภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • ควรระวังในการใช้ยาแคลเซียมแลคเตทกับผู้ป่วยโรคไต และ โรคหัวใจ
  • ควรระวังในการใช้ยาแคลเซียมแลคเตทกับการใช้ยาในสตรีตั้งครรภ์ หรือสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร รวมถึงเด็ก และผู้สูงอายุ ซึ่งการใช้ยาควรจะต้องอยู่ภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
  • ห้ามแบ่งยาแคลเซียมแลคเตทให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาแคลเซียมแลคเตทที่หมดอายุแล้ว

ทั้งหมดนี้ก็คงจะช่วยทำให้ได้เข้าใจกันมากขึ้นแล้วถึงเรื่องของตัวยาแคลเซียมแลคเตท ที่จะต้องทานอย่างระมัดระวังรวมถึงจะต้องทานในปริมาณที่เหมาะสมตามคำสั่งของแพทย์ เพราะตัวยาแคลเซียมแลคเตทไม่เพียงแค่มีข้อดีเท่านั้น แต่ยังมีโทษที่ส่งผลต่อร่างกายได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนการทานยาไม่ว่าจะเป็นยาชนิดไหนก็ตามควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรืออ่านฉลากให้เข้าใจก่อนทุกครั้ง เพื่อให้ทานยาแล้วให้ผลลัพธ์ที่ดีและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายตามมา


อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารเสริมวิตามินผิว
สาระความรู้
อาหารเสริมวิตามินผิว มีอะไรบ้าง ? เปิดสาเหตุเพิ่มวิตามินให้ผิว ดีอย่างไร

เพิ่ม อาหารเสริมวิตามินผิว เสริมได้ด้วยวิตามินซี นอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ร่างกายได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความขาวกระจ่างใสได้มากกว่าเดิม

อ่านต่อ
เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี ? มาเพิ่มคอลลาเจนง่าย ๆ กัน

มองหา เครื่องดื่มคอลลาเจนยี่ห้อไหนดี มาดูกัน ตัวช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกายได้มากกว่าเดิม พร้อมเพิ่มความกระชับ เต่งตึงให้ผิว

อ่านต่อ
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด
สาระความรู้
โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด

โรคข้อเสื่อมรักษาอย่างไร แบบไม่ผ่าตัด ทำง่าย เห็นผลจริง เพียงแค่เปลี่ยนแปลงบางพฤติกรรมที่เป็นตัวการที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม

อ่านต่อ
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร
สาระความรู้
คอลลาเจน Type II และ III แตกต่างกันอย่างไร ? เลือกกินอย่างไรดี

คอลลาเจนแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร อะไรคือความแตกต่างของ คอลลาเจน Type II และ III เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและผิวหนังได้ง่าย ๆ

อ่านต่อ
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม
สาระความรู้
วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นโรคข้อเสื่อม ยิ่งดูแลตัวเองดี ยิ่งหายได้ง่าย และเร็วขึ้น วิธีการดูแลร่างกายตัวเอง และพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง

อ่านต่อ